การบริหารแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีสู่ความเป็นเลิศเพื่อรองรับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • สิรวิชญ์ ธนเศรษฐ์วงศ์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ส่วนร่วม, ความเป็นเลิศ, การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีสู่ความเป็นเลิศเพื่อรองรับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) พัฒนาคู่มือการบริหารแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีสู่ความเป็นเลิศเพื่อรองรับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และ 3) ประเมินผลการบริหารแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีสู่ความเป็นเลิศเพื่อรองรับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง คณะกรรมการวิทยาลัย ผู้นำชุมชนและท้องถิ่น ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 7,521 คน กลุ่มตัวอย่างจากการใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ และใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 966 คน ขั้นตอนที่ 3 ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง คณะกรรมการวิทยาลัย ผู้นำชุมชนและท้องถิ่น ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 8,778 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 980 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบรายงานผลสัมฤทธิ์ และแบบประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและความต้องการของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีสู่ความเป็นเลิศเพื่อรองรับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของแต่ละฝ่ายโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการพัฒนาคู่มือการบริหารแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีสู่ความเป็นเลิศเพื่อรองรับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 พบว่า คู่มือที่พัฒนาประกอบด้วย คู่มือจำนวน 5 เล่ม เล่มที่ 1 คู่มือการบริหารของวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา คู่มือเล่มที่ 2 คู่มือฝ่ายวิชาการ คู่มือเล่มที่ 3 คู่มือฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา คู่มือเล่มที่ 4 คู่มือฝ่ายบริหารทรัพยากร และคู่มือเล่มที่ 5 คู่มือฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ รายละเอียดของคู่มือแต่ละฝ่าย ประกอบด้วย วิสัยทัศน์หน่วยงาน พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ แผนงานหลัก แผนงานย่อยและโครงการ และแนวทางสำหรับนำคู่มือสู่การปฏิบัติ และ 3) ผลการประเมินการบริหารแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีสู่ความเป็นเลิศเพื่อรองรับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 พบว่า มีผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายทุกรายการที่กำหนดไว้ในแผนงานและโครงการทั้ง 4 ฝ่าย

References

ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2680). (13 ตุลาคม 2561). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก. 1-71.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2559). นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน.

มาโนช ชีพสุวรรณ. (2556). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสหวิทยาเขต ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา (เดิม) จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.

ทำนอง ภูเกิดพิมพ์. (2551). แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มะณู คุ้มกล่ำ. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิทยาลัยสารพัดช่างเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่สถาบันการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, กำแพงเพชร.

ศิริพร ชาญสมิง. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารกับการบริหารวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, ฉะเชิงเทรา.

ภัทราพร เกษสังข์. (2551). การพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลยเขต 1 โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานวิจัยและพัฒนาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำเร็จ วงศ์ศักดา สบสันติ์ อุตกฤษฏ์ และอนันท์ งามสะอาด. (2554). รูปแบบการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 21(3), 667-679.

สันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์. (2551). สาระสำคัญของการมีส่วนร่วมของบุคลากร. กรุงเทพมหานคร: สามเจริญ พาณิชย์.

ต่อศักดิ์ บุญเสือ นินทิยา น้อยจันทร์ และบัณฑิตา อินสมบัติ. (2556). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 8(2), 44-50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2022