การผลิตเฟอร์นิเจอร์เม็ดโฟมจากผ้ากันน้ำจากยางพารา

ผู้แต่ง

  • สายฝน แก้วสม แผนกวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • ปรัชญา กาญจนารัตน์ แผนกวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • สัตยา หัตถิยา แผนกวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • นุชจรี สุกใส แผนกวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • โกศล อินนวล แผนกวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • เอกศาสน์ รอดเนียม แผนกวิชาสามัญสัมพันธ์ วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง

คำสำคัญ:

ผ้ากันน้ำจากยางพารา, การเคลือบผ้าด้วยน้ำยางพารา

บทคัดย่อ

การศึกษาสมบัติของผ้ากันน้ำจากยางพารา  สำหรับนำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์เม็ดโฟมและโฟมยางธรรมชาติ พบว่า การเคลือบผ้าด้วยน้ำยางโดยตรง น้ำยางติดผ้าได้ดีกว่าการเคลือบโดยใช้สารช่วยจับตัวน้ำยาง ชนิดของผ้าและชนิดของเส้นใยผ้าไม่มีผลต่อการเคลือบน้ำยาง แต่ขึ้นอยู่กับความแน่นของเส้นด้ายผ้า จากการศึกษาได้เลือกใช้ผ้าลินินมาทำเป็นผ้ากันน้ำจากยางพารา แทนผ้าชนิดอื่นเพราะทนทานต่อจุลินทรีย์ เชื้อรา แบคทีเรีย ทนทานต่อการซักล้าง ทนความร้อน และทนแสงแดดได้ดี และจากการศึกษานำผ้าลินินที่เคลือบด้วยน้ำยางพาราที่แปรปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนต พบว่า ปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนต ที่ 10 กรัม เป็นปริมาณที่เหมาะสมที่สุด โดยปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตเพิ่มขึ้น ค่าความต้านทานต่อแรงดึง และความสามารถในการยืดจนขาดจะลดลงตามลำดับ แต่จะมีความทนทานต่อการดูดซึมน้ำได้ดี และค่าเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงมีค่าน้อยกว่า  5 % แสดงว่าผ้าแต่ละชนิดมีความทนต่อการเสื่อมสภาพเนื่องจากสภาพแวดล้อมอยู่ในระดับที่ยอมรับได้

References

สุนิสา สุชาติ. (2564). นวัตกรรมยางธรรมชาติคอมพอสิท (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2558). ฝ่าวิกฤติยางพาราไทยปี 58: ทางเลือก & ทางรอด ของชาวสวนยางท่ามกลาง แรงกดดันด้านราคา. กระแสทรรศน์, 2609, 1-5.

สุนิสา สุชาติ. (2558). ยางธรรมชาติ: การแปรรูป. กรุงเทพมหานคร: โอเดียล.

กษมา จารุกำจร. (2558). การเตรียมคอมโพสิทจากยางธรรมชาติเคลือบผ้า. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2022