การพัฒนาชุดการสอนฐานสมรรถนะหลักสูตรรายวิชาการทดสอบงานเชื่อมโดยไม่ทำลาย รหัสวิชา 30103-2103 สาขางานตรวจสอบและทดสอบงานเชื่อม หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ผู้แต่ง

  • ชาญชัย แฮวอู แผนกวิชาช่างเชื่อมโลหะ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนาชุดการสอน, ฐานสมรรถนะ, หลักสูตรรายวิชาการทดสอบงานเชื่อมโดยไม่ทำลาย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดการสอนฐานสมรรถนะหลักสูตรรายวิชาการทดสอบงานเชื่อมโดยไม่ทำลายรหัสวิชา 30103-2103 2) ศึกษาประสิทธิภาพของชุดการสอนฐานสมรรถนะหลักสูตรรายวิชาการทดสอบงานเชื่อมโดยไม่ทำลายรหัสวิชา 30103-2103 ที่นำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนฐานสมรรถนะหลักสูตรรายวิชาการทดสอบงานเชื่อมโดยไม่ทำลายรหัสวิชา 30103-2103 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดการสอนฐานสมรรถนะหลักสูตรรายวิชาการทดสอบงานเชื่อมโดยไม่ทำลายรหัสวิชา 30103-2103 ประชากร คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 (ปวส.2) สาขาวิชาช่างเทคนิคโลหะ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการทดสอบงานเชื่อมโดยไม่ทำลาย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 (ปวส.2) สาขาวิชาช่างเทคนิคโลหะ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการทดสอบงานเชื่อมโดยไม่ทำลาย ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 14 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดการสอนวิชาการทดสอบงานเชื่อมโดยไม่ทำลาย รหัสวิชา 30103-2103 มีเนื้อหาจำนวน 5 หน่วยการเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแต่ละหน่วยการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน

ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ชุดการสอนฐานสมรรถนะหลักสูตรรายวิชาการทดสอบงานเชื่อมโดยไม่ทำลาย รหัสวิชา 30103-2103 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.02/89.30 คะแนนสอบหลังเรียนของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้เรียนมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

References

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2554). [ออนไลน์]. มาตรฐานอาชีพและมาตรฐานวิชาชีพสู่การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา. [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2559]. จาก http://www.thairath.co.th/content/200833.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมทางวิชาการ.

เกริก ท่วมกลางและจินตนา ท่วมกลาง. (2555). การพัฒนาสื่อ/นวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพมหานคร: สถาพรบุ๊คส์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วิทยาลัยเทคนิคชัยนาทสำนักคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและภาควิชาเทคนิคศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.(2559). คู่มือจัดทำแผนการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ กรุงเทพมหานคร: สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ.

จุฑา ธรรมชาติ. (2552). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาวิจัยทางการศึกษา. ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, ปัตตานี.

พวงผกา ปวีณบำเพ็ญ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน. ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(2), 62-70.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2022