BCG Model กับ อาชีวศึกษาไทย

ผู้แต่ง

  • เรืออากาศโท สมพร ปานดำ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

คำสำคัญ:

โมเดลเศรษฐกิจ, เทคโนโลยี, นวัตกรรม, อาชีวศึกษา, การพัฒนาที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เรื่อง BCG Model ซึ่งเป็นโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งนำเสนอแนวคิดการนำ BCG Model มาประยุกต์และปรับใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนของอาชีวศึกษา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศด้วยการใช้ BCG Economy หรือเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) ซึ่งเป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม

การพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาของภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มฐานความรู้ด้านเทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ให้สอดคล้องตามทิศทางการพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาที่ตอบโจทย์การขับเคลื่อน BCG ประเด็นสำคัญ คือ การนำศักยภาพของบุคลากรสายอาชีวศึกษาบูรณาการกับต้นทุนในพื้นที่ เพื่อตอบโจทย์นโยบาย BCG ของประเทศ ใน 4 กลุ่ม คือ 1) การแปรรูปอาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ 2) การสาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์ 3) นวัตกรรมเพื่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 4) การพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ พลังงานและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การนำแนวคิดต่าง ๆ สามารถนำไปบูรณาการในทุกกิจกรรมทั้งด้านการเรียนการสอนอาชีวศึกษา ด้านการสร้างนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์และด้านการบริการวิชาชีพ

References

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2563). [ออนไลน์]. BCG in Action: The New Sustainable Growth Engine โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2564]. จาก https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/bcg-in-action-new-sustainable/.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2562). [ออนไลน์]. (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564]. จาก https://www.bcg.in.th/bcg-action-plan/.

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). ข้อเสนอ BCG in Action: The New Sustainable Growth Engine. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). [ออนไลน์]. วิสัยทัศน์/พัทธกิจ/ยุทธศาสตร์ (ปี พ.ศ.2561 - ปีพ.ศ.2564). [สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564]. จาก https://www.vec.go.th/th-th/เกี่ยวกับสอศ/วิสัยทัศน์พัทธกิจยุทธศาสตร์(ปีพศ2561-ปีพศ2564).aspx.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.). (2563). [ออนไลน์]. BCG in Action: The New Sustainable Growth Engine. [สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2564]. จาก https://www.nxpo.or.th/th/bcg-economy/.

ประชาคมวิจัยด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว. (2561). สมุดปกขาว BCG in Action การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทย เพื่อเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว Bio - Circular - Green Economy. กรุงเทพมหานคร: ประชาคมวิจัยด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2021