การปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ด้วยเทคนิคการปรับปรุงงาน
คำสำคัญ:
หลักการ ECRS, คู่มือการทำงาน, การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการทำงาน 2) ค้นหาสภาพปัญหาและความสูญเปล่า และ 3) สร้างมาตรฐานในการทำงานในกระบวนการปั๊มขึ้นรูปส่วนโค้งนูน โดยโรงงานกรณีศึกษาในงานวิจัยนี้เป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในจังหวัดนนทบุรี ขั้นตอนในการวิจัยเริ่มจากการทำการศึกษากระบวนการผลิตเพื่อตรวจสอบกระบวนการใดผลิตได้ไม่ตรงตามแผนมากที่สุด วิเคราะห์ปัญหาด้วยการระดมสมอง (Brainstorm) และหลักการทำไม-ทำไม (Why-Why Analysis) พบว่าขั้นตอนการเตรียมการผลิตกระบวนการปั๊มขึ้นรูปส่วนโค้งนูนใช้เวลานาน ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตได้ตามแผน จากนั้นได้ทำการปรับปรุงขั้นตอนการทำงานโดยใช้หลักการ ECRS แล้วจัดทำเป็นมาตรฐานการทำงาน (Work Instruction)
หลังจากการปรับปรุง พบว่า ขั้นตอนการเตรียมการผลิตกระบวนการปั๊มขึ้นรูปส่วนโค้งนูนลดลงจาก 15 ขั้นตอน เหลือ 11 ขั้นตอน ระยะทางในการเคลื่อนที่จากเดิม 35 เมตร ลดลงเหลือ 12 เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 65.70 และเวลาที่ใช้ในการเตรียมการผลิตจากเดิม 20 นาที ลดลงเหลือ 7 นาที คิดเป็นร้อยละ 65
References
เอกชัย บุญจง. (2551). การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์โดยใช้เทคนิคการควบคุมคุณภาพและการปรับสมดุลการผลิต กรณีศึกษา : บริษัท เคียวคุโย อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด. สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร.
ดาริกา อวะภาค ศุภชัย ภิสัชเพ็ญ และ มณฑิรา เอียดเสน. (2554). การลดเวลาสูญเสียในกระบวนการผลิตไอศกรีมแท่ง. ใน เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49: สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ (น. 199-207). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2561). [ออนไลน์]. Lean ความสูญเสีย 8 ประการ (8 Wastes DOWNTIME). [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2563]. จาก https://www.iok2u.com/index.php/article/industry/243-8-8-wastes-downtime.
คณิต เฉลยจรรยา. (2543). ความสูญเสีย 7 ประการ (7 Waste). กรุงเทพมหานคร: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
บิสซิเนส บูลเลทีน เซอร์วิส. (2559). [ออนไลน์]. เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด (7 QC Tools). [สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2563]. จาก http://econs.co.th/index.php/2016/07/29/7-qc-tools/.
รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. (2552). การศึกษางานอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: ท้อป.
ธารชุดา พันธ์นิกุล ดวงพร สังฆะมณี และปรีดาภรณ์ งามสง่า. (2557). การปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตด้วยเครื่องมือทางวิศวกรรมอุตสาหการ กรณีศึกษา: โรงงานประกอบรถจักรยาน. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2557 วันที่ 30-31 ตุลาคม 2557 น. 227-334, สมุทรปราการ.
ณัฐพงษ์ คงประเสริฐ. (2562).[ออนไลน์]. Why Why Analysis. [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2563]. จาก http://qd.swu.ac.th/Portals/2077/Why%20Why%20Anlysis.pdf?ver=2562-05-24-082545-380.
ณัฐนนท์ จิวะไพศาลพงศ์. (2555). การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินการด้านห่วงโซ่อุปทานของโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก. สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทางวิศวกรรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพมหานคร.
สรณ์ศิริ เรืองโลก. (2560). การปรับปรุงประสิทธิภาพของสายการผลิตสมอลล์เอิร์ทลีคเบรกเกอร์,การค้นคว้าอิสระวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.