การสำรวจความต้องการรับบริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬาของคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้แต่ง

  • วนิษา ศรีรอบรู้ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ชนาภา มหายศนันท์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความต้องการ, วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา

บทคัดย่อ

การสำรวจความต้องการรับบริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬาของคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นการรับการบริการวิชาการของคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริการวิชาการของคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ประชากรที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ทั้ง 3 วิทยาเขต จำนวน 35,020 คน ได้แก่ วิทยาเขตบางแสน จำนวน 31,842 คน วิทยาเขตสระแก้ว จำนวน 1,435 คน วิทยาเขตจันทบุรี จำนวน 1,736 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ทั้ง 3 วิทยาเขต ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิต จำนวน 387 คน ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยจากตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดลำดับความสำคัญของค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (Priority Needs Index: PNImodified)

ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินและการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นของการรับบริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย และการกีฬาของคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา พบวา กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการจำเป็นในด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการบริการให้คำปรึกษาสูงที่สุด มีความสำคัญเป็นลำดับที่ 1 ด้านแหล่งข้อมูลข่าวสาร มีความสำคัญในลำดับที่ 2 ด้านการจัดโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาประสบการณ์ทางวิชาชีพแก่นิสิต มีความสำคัญในลำดับที่ 3 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มีความสำคัญในลำดับที่ 4 และสุดท้ายคือด้านการนำความรู้ไปใช้พร้อมแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมบริการวิชาการ มีความสำคัญในลำดับที่ 5 ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาการรับบริการนิสิต ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการบริการให้คำปรึกษา ด้านแหล่งข้อมูลข่าวสาร และด้านการจัดโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาประสบการณ์ทางวิชาชีพแก่นิสิต

References

กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา. (2559). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ ฉบับปรับปรุง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2563. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา. (2560). แผนยุทธศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์การกีฬามหาวิทยาลัยบูรพาเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ ฉบับปรับปรุง ปีงบประมาณ พ.ศ.2560-2563. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมนึก ภัททิยธนี. (2560). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 11). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภพร ทัศนัยนา. (2548). คัมภีร์ผู้ฝึกสอนแบดมินตัน. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

Jackie, G., & Emma, S. (2012). Community Benefits of Major Sport Facilities: The Darebin International Sports Centre. Sport Management Review, Vol. 15 No. 2, 218-229.

นราทิพย์ บุญศิริโรจน์ ศิริศักดิ์ จันฤาไชย และรณรุทธ์ บุตรแสนคม. (2554). แนวทางการบริหารจัดการ ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา สถาบันการพลศึกษา. วารสารการบริหารและพัฒนา, ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554, 136-149.

ปรีชา พงษ์เพ็ง. (2558). รูปแบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพของศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2558, 93-102.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2560). การประเมินศักยภาพและความพร้อมของการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้กีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬาในสังกัดกรมพลศึกษา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2021