สภาพแวดล้อมและพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตชุมชนหัตถกรรมทอผ้า จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • สุวภา ขจรฤทธิ์ สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อรศิริ ปาณินท์ สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปฏิพล ยอดสุรางค์ สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

สภาพแวดล้อม, จังหวัดสุรินทร์, ชุมชนหัตถกรรม, หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์, ผ้าทอหัตถกรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาถึงการสภาพปัจจุบันการปรับตัวการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชน ผู้ประกอบการชุมชนทอผ้าหัตถกรรมภายในจังหวัดสุรินทร์ ภายหลังเข้าร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวทางโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ภาพวิถีชีวิตในอดีตการทอผ้าเป็นเพียงอาชีพเสริมของเกษตรกรที่ทำในช่วงว่างเว้นจากเกษตรกรรม เมื่อมีการจัดงานมหกรรมสินค้าโอทอปบ่อยครั้ง ส่งผลต่อวิถีชีวิตชุมชนในปัจจุบันอย่างไร งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การศึกษาข้อมูลทางเอกสาร การสำรวจด้วยแบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้าง และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่เกี่ยวข้องเฉพาะผู้ประกอบการชุมชนและผู้ประกอบการรายเดียวของจังหวัดสุรินทร์ ที่ร่วมออกบูธจำหน่ายผ้าทอหัตถกรรม ทั้งสิ้น 29 ราย ในงานมหกรรมสินค้า OTOP MIDYEAR 2019 ณ อิมแพค เมืองทองธานี ในวันที่ 15-23 มิถุนายน 2562

จากการศึกษาพบว่า 1) ด้านเอกสาร ความสำคัญของสภาพแวดล้อมแหล่งผลิตและวัตถุดิบ จังหวัดสุรินทร์เป็นแหล่งเพาะปลูกและแหล่งผลิตเส้นไหมหัตถกรรมที่สำคัญในประเทศไทย เป็นส่วนสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาภูมิปัญญาชุมชน 2) ด้านการสำรวจ การวิเคราะห์แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกแสดงให้เห็นว่า การทอผ้าหัตถกรรมในชุมชนเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มิใช่ทำเมื่อว่างจากงานเกษตร 3) กลุ่มผู้ทอผ้าส่วนใหญ่ยังมีอายุตั้งแต่ 30-50 ปี ไม่ใช่เพียงผู้สูงอายุ เป็นข้อสังเกตสำคัญที่ทำให้เห็นแนวโน้มของการสืบทอดอาชีพจากภูมิปัญญาชุมชน 4) กลไกส่งเสริมการตลาดภาครัฐฯ การจัดมหกรรมสินค้าโอทอป ที่จัดขึ้นบ่อยครั้ง เป็นช่องทางสำคัญทำให้เกิดการปรับตัว การเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

References

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2548). [ออนไลน์]. นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กรณีโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. [สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2561]. จาก https://cabinet.soc.go.th/soc.

เศรษฐสยาม. (2552). ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมกับความพอดี. ในวิสาหกิจชุมชน กลไกเศรษฐกิจฐานราก (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2544). มิติทางวัฒนธรรมในยุคเศรษฐกิจพอเพียง. รายงานการสัมมนา วันที่ 17 ธันวาคม 2542 ณ หอประชุมศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์มานุษยวิทยามหา-จักรีสิรินทร.

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดสุรินทร์. (2556). [ออนไลน์]. ฐานข้อมูลหม่อนไหมสุรินทร์. [สืบค้นเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม2561]. จาก https://qsds.go.th/qssc_srn/index_web.php.

เมธ์วดี พยัฆประโคน. (2559). ผ้าไหมทอมือพื้นบ้าน ในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, ปีที่ 18 ฉบับที่ 35 กรกฎาคม - ธันวาคม 2559, 94-105.

ศิริพร ยศกมลเศรษฐ. (2552). เงินไม่ใช่เป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. ในวิสาหกิจชุมชน เศรษฐกิจฐานราก (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมประชาสัมพันธ์. (2561). [ออนไลน์]. โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพหม่อนไหมเพื่อผู้สูงอายุ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2561]. จาก https://pr.prd.go.th/surin/ewt_news.php?nid=7802&filename=index.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2021