การพัฒนาการบริหารงานวิชาการของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ สหวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร
คำสำคัญ:
การบริหารงานวิชาการ, หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้, การพัฒนาครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 2) พัฒนาการบริหารงานวิชาการของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 3) ประเมินผลการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในสถานศึกษา โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของเคมมิสและแม็กแท็กการ์ด ได้แก่ 1) ขั้นการวางแผน 2) ขั้นการปฏิบัติการ 3) ขั้นการสังเกตการณ์ และ4) ขั้นการสะท้อนผล โดยดำเนินการทั้งหมด 2 วงรอบ แนวทางที่ใช้ในการพัฒนา คือ การจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การปฏิบัติกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ได้แก่ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ โรงเรียนบ้านตาขุนวิทยา โรงเรียนมัธยมบ้านทำเนียบ โรงเรียนคีรีรัฐวิทยาคม จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ 1) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 2) แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ 3) คู่มือประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลในเชิงบรรยายและพรรณนาวิเคราะห์ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยมีสภาพและความต้องการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ ดังนี้ การพัฒนาการนิเทศการศึกษา การพัฒนาการวิจัยเพื่อคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาการวัดและประเมินผล 2) การพัฒนาการบริหารงานวิชาการของกลุ่มเป้าหมายของงานวิจัย พบว่า มีความรู้และความสามารถในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการเพิ่มขึ้นหลังจากเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ 3) การประเมินผลการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของกลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ด้านความรู้ ด้านทักษะและด้านเจตคติ พบว่า มีความรู้ความเข้าใจการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ตามกระบวนการ ติดตาม ประเมินผลของคณะครูภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาการบริหารงานวิชาการเพิ่มขึ้น
References
สำนักงานทดสอบการศึกษา. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพทางการศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2561). [ออนไลน์]. รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2562]. จาก http://www.niets.or.th.
มะลิวรรณ ประวัง. (2553). การพัฒนาภาวะผู้นำของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ ศ 2544. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สพม.11. (2561). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11, สุราษฎร์ธานี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
ดวงหทัย โฮมไชยะวงศ์ และวิลาพัณย์ อุรบุญนวลชาติ. (2558). การนิเทศกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในการบริหารจัดการหลักสูตร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มิถุนายน-ตุลาคม 2558, 70-77.
จุรีพร กาญจนการุณ. (2559). ผลการดำเนินโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการใช้แผนที่ความคิดของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559, 37-56.
ศรีวรรณ แก้วทองดี. (2562). แนวทางการพัฒนาตนเองของครูในสถานศึกษา สหวิทยาเขตบึงสามพัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.