ปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้บริการธุรกิจขนส่งพัสดุในจังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
ความเชื่อมั่น, การใช้บริการ, ธุรกิจขนส่งพัสดุบทคัดย่อ
การวิจัยนี้จุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความเชื่อมั่นในการใช้บริการธุรกิจขนส่งพัสดุในจังหวัดสงขลาจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ 2) ศึกษาปัจจัยคุณภาพบริการที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้บริการธุรกิจขนส่งพัสดุในจังหวัดสงขลา และ 3) ศึกษาปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการในธุรกิจขนส่งพัสดุในจังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใช้บริการธุรกิจขนส่งพัสดุในจังหวัดสงขลา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test และ One-way ANOVA
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท และมีความถี่การเข้าใช้บริการ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ผู้ใช้บริการ ให้ความสำคัญกับปัจจัยคุณภาพบริการด้านการตอบสนองความต้องการมากที่สุด และผู้ใช้บริการให้ความสำคัญกับปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการด้านการขายโดยใช้พนักงานมากที่สุด ทั้งนี้ผู้ใช้บริการที่มีระดับอายุ การศึกษาและความถี่ในการใช้บริการแตกต่างกัน ให้ความสำคัญกับปัจจัยคุณภาพบริการธุรกิจขนส่งพัสดุในจังหวัดสงขลาโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้ใช้บริการที่มีอายุและระดับการศึกษาแตกต่างกัน ให้ความสำคัญกับปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของธุรกิจขนส่งพัสดุในจังหวัดสงขลาโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ศิวานนท์ จันทรประวัติ และกุลกัญญา ณ ป้อมเพ็ชร์. (2562). ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการขนส่งพัสดุของไปรษณีย์ไทยที่ส่งผลต่อความภักดีด้านพฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจสินค้าออนไลน์ในเขตภาคกลาง. วารสารการบริหารและการจัดการ, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2562, 59-79.
Roscoe, J. T. (1969). Fundamental Research Statistics for the Behavioral Sciences. New York : Holt Rinehart and Winston, Inc.
ญาธิณี เหลืองทรัพย์ทวี. (2562) .ปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ กรณีศึกษาของบริษัทขนส่งเอกชนเคอรี่ เอกซ์เพรส (Kerry Express) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. การค้นคว้าอิสระ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.
ธนพล โตผาติ. (2562) .อิทธิพลของการสื่อสารแบบปากต่อปาก การตลาดสื่อสังคมออนไลน์และการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบันเทิงยามค่ำคืนของนักท่องเที่ยวในเขตตลิ่งชัน จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. การบริหารและการจัดการ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพมหานคร.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2009). Marketing Management. Upper Saddle River, New Jersey : Pearson Prentice-Hall.