ความคาดหวังต่อธุรกิจออนไลน์ของผู้บริโภคในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)

ผู้แต่ง

  • ทัชชกร เอียดเฉลิม สาขาการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • สุนิสา โกศล สาขาการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง, ธุรกิจออนไลน์, ชีวิตวิถีใหม่, ผู้บริโภค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังต่อการให้บริการธุรกิจออนไลน์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังต่อการให้บริการธุรกิจออนไลน์ จำแนกตามพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคชีวิตวิถีใหม่ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมผู้บริโภคยุคชีวิตวิถีใหม่ โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคที่ใช้บริการธุรกิจออนไลน์ ทั้งผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ ช่องทางแอปพลิเคชันและช่องทางเว็บไซต์หลักของกิจการ จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก (Convenience Sampling) โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา t-test F-test และ Chi-Square test

ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) มีความคาดหวังต่อการให้บริการธุรกิจออนไลน์โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการจัดจำหน่าย (Place) โดยผู้บริโภคที่มีรายได้ต่อเดือนและระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีระดับความคาดหวังต่อการให้บริการธุรกิจออนไลน์โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ผู้บริโภคที่มีความถี่ในการใช้บริการ ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการบุคคลที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจใช้บริการและประเภทสินค้าที่นิยมซื้อแตกต่างกันมีระดับความคาดหวังต่อการให้บริการธุรกิจออนไลน์โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคชีวิตวิถีใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

จิดาภา ทัดหอม. (2558). การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ความไว้วางใจและคุณภาพของระบบสารสนเทศที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). [ออนไลน์]. ตีสนิทอีคอมเมิร์ซ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2563]. จาก https://www.etda.or.th/th/Microsite/NewyearGiftBox/NewyearGiftBox.aspx.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : พัฒนาการศึกษา.

วิเชียร วงศ์ณิชชากุล. (2550). การบริหารการส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เสาวนีย์ ศรีจันทร์นิล. (2559). ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดนนทบุรี. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, นนทบุรี.

พัชราภรณ์ เมธีการย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการวิชาการบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2021