การจัดการอาชีวศึกษาที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต

ผู้แต่ง

  • เรืออากาศโทสมพร ปานดำ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

คำสำคัญ:

อาชีวศึกษา, ทุนมนุษย์, ยกระดับโรงเรียน, บูรณาการด้านการศึกษา, ห้องเรียนอาชีพ

บทคัดย่อ

สถานการณ์ของโลกมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านวิทยาการ ความก้าวหน้าทางสนเทศเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มีแนวโน้มที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันจากหลายปัจจัย เช่น ภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจที่เกิดจากผลกระทบการระบาดของโควิด-19 และการคาดการณ์ภาพรวมการปรับใช้เทคโนโลยีในงานและทักษะต่าง ๆ ในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาที่ต้องสร้างทรัพยากรมนุษย์ ที่จะต้องมีทักษะและความพร้อมในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการยกระดับการศึกษาของประเทศและได้เสนอแนะแนวทางรวมทั้งรวบรวมแนวนโยบายและรูปแบบที่ดีในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต ซึ่งพบว่ารูปแบบของการจัดการศึกษาที่พร้อมสำหรับการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่จะมีทักษะต่าง ๆ เพื่อตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตย่อมล้วนเกิดจากการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ เช่น ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center: HCEC) ของอาชีวศึกษา เป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนอาชีวศึกษายกกำลังสอง เป็นตัวอย่างของการที่จะเกิดการพัฒนาทรัพยากรด้านอาชีวศึกษาที่จะเป็นกลไกหลักในการพัฒนาประเทศ และการบริหารแบบบูรณาการด้านการศึกษา ที่มีแนวทางการยกระดับโรงเรียน 3 แนวทางหลัก คือ 1) โรงเรียนคุณภาพชุมชนระดับประถมศึกษา 2) เพิ่มคุณภาพให้โรงเรียนขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone) และ 3) ยกระดับคุณภาพให้โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง และโครงการห้องเรียนอาชีพ ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนการสอนอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถเชื่อมโยงวิชาการกับวิชาชีพเข้าไว้ด้วยกัน เป็นส่วนสำคัญที่จะเกิดการบูรณาการการศึกษาอย่างเป็นระบบและเกิดประสิทธิภาพและรวมทั้งการพัฒนาระดับสถานศึกษาอาชีวศึกษาจากระดับมาตรฐาน

รูปแบบของการจัดการศึกษาต่าง ๆ เหล่านี้ย่อมจะส่งผลดีต่อการพัฒนาวงการการศึกษาเป็นการเตรียมความพร้อมและสร้างทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่มีความสามารถในการแข่งขันเท่าเทียมกับนานาอารยะประเทศและเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของศตวรรษที่ 21 อย่างแท้จริง

References

สมพร ปานดำ. (2563). ยุทธศาสตร์การผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเภทอุตสาหกรรมรองรับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ปีที่ 33 ฉบับที่ 116 ตุลาคม-ธันวาคม 2563, 22-28.

Giles, Sunnie. (2018). [Online]. How VUCA Is Reshaping The Business Environment, And What It Means For Innovation. [Retrieved January 5, 2021]. จาก https://www.forbes.com.

ประสาท มีแต้ม. (2562). [ออนไลน์]. ทำให้โลกของเรายิ่งใหญ่อีกครั้ง : Make Our Planet GreatAgain. [สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564] จาก http://www.life.ac.th/2017/index.php/component/k2/item/543-make-our-planet-great-again.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2561). [ออนไลน์]. การส่งเสริมการศึกษาไทยเพื่อรับมือกับโลกยุค VUCA. [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2564]. จาก https://www.trueplookpanya.com/blog/content/76134/-blog-teaartedu-teaart-.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). [ออนไลน์]. สรุปสาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2564]. จาก http://www.library.coj.go.th/Info/48341?c=7236996.

กมลมาศ จิตต์ขันติวงศ์ และสุทัตทิชา ชนินทรา. (2564). [ออนไลน์]. อนาคตการทำงานรูปแบบใหม่ ปรับตัว เพิ่มทักษะ ในยุคแห่งเทคโนโลยีดิจิทัล. [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2564]. จาก https://www.creativethailand.org/view/article-read?article_id=32825&lang=th.

บุญเลิศ แสวงทอง. (2561). [ออนไลน์]. เด็กไทย 4.0. [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2564]. จาก http://ednet.kn.ac.th.

Harkins, A. M. (2008). Leapfrog Principles and Practices: Core Components of Education 3.0 and 4.0. Future Research Quarterly, Vol. 24 No. 1, 19-32.

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2564). [ออนไลน์]. แนวทางการขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) ปีงบประมาณ 2564. [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2564]. จากhttp://bsq.vec.go.th.

บัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2563). [ออนไลน์]. อาชีวะยกกำลัง 2 ปลดล็อก ปรับเปลี่ยน เปิดกว้าง อาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2564]. จาก https://moe360.blog/2020/10/07/vocational-squared/.

ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ. (2563). [ออนไลน์]. การศึกษายกกำลังสอง. [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2564]. จากhttps://www.facebook.com/ThaiEdEcoSystem.

อัมพร พินะสา. (2564). [ออนไลน์]. สพฐ.-สอศ.จับมือสร้างห้องเรียนอาชีพ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564]. จาก https://www.dailynews.co.th/education/825878.

สุวนันท์ คีรีวรรณ และพัชรินทร์ คำเปรม. (2563). [ออนไลน์]. สัมภาษณ์พิเศษ : สุเทพ แก่งสันเทียะ จากครูอาชีวะสู่เก้าอี้เลขาธิการ กอศ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2564]. จาก https://www.matichon.co.th/education/news_2483091.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2021