การสร้างและหาสมรรถนะรถเข็นไฟฟ้าปรับนั่งนอนยืนสำหรับผู้ป่วยพักฟื้น
คำสำคัญ:
รถเข็น, ผู้ป่วยพักฟื้นบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาสมรรถนะของรถเข็นไฟฟ้าปรับนั่งนอนยืนสำหรับผู้ป่วยพักฟื้น และศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้รถเข็นไฟฟ้าปรับนั่งนอนยืนสำหรับผู้ป่วยพักฟื้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้ป่วยพักฟื้นที่ต้องใช้ชีวิตบนรถเข็นในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ในตำบลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 30 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูล แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า รถเข็นไฟฟ้าปรับนั่งนอนยืนสำหรับผู้ป่วยพักฟื้นมีระบบการทำงาน ประกอบด้วย ลิเนียมอเตอร์ จำนวน 3 ตัว มีชุดกล่องควบคุมวงจรการปรับท่าทาง มีล้อมอเตอร์เพื่อขับเคลื่อนที่มีแบตเตอรี่เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้า ใช้เหล็กสแตนเลสเป็นโครงสร้างของรถเข็น และมีเบาะรองรับเป็นหนังกันน้ำ เมื่อทำการทดลองการเคลื่อนที่ในสภาพพื้นเรียบได้ร้อยละ100 การเคลื่อนที่สภาพพื้นหญ้าได้ร้อยละ 90 และการเคลื่อนที่สภาพพื้นขรุขระได้ร้อยละ 90 การปรับท่านั่งเป็นท่านอนใช้เวลาเฉลี่ย 1.18-1.22 นาที การปรับท่านอนเป็นท่านั่งใช้เวลาเฉลี่ย 1.20-1.25 นาที และการปรับท่านั่งเป็นท่ายืนใช้เวลาเฉลี่ย 1.20-1.25 นาที การขึ้นทางลาดชันสามารถขึ้นได้สูงสุด 1:6 การทำงานของเสียงแจ้งเตือน เสียงฉุกเฉินและสถานะแบตเตอรี่ ของรถเข็นไฟฟ้าฯมีสมรรถนะทำงานดีทุกครั้งเมื่อนำไปให้ผู้ใช้ประเมินความพึงพอใจ พบว่า โดยภาพรวมทุกด้านระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
References
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณชีวิตคนพิการ. (2562). [ออนไลน์]. รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2662]. จาก http://dep.go.th/Content/View/4232/1.
สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ. (2558). คู่มือสำหรับประชาชนในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์พื้นฐานสำหรับคนพิการทางการเคลื่อนไหว. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.
สุจินต์ วังใหม่ พิเชษฐ์ โค้วตระกูล และปิยะ กรกชจินตนาการ. (2559). การสร้างรถนั่งคนพิการแบบปรับท่านั่ง-ยืนได้. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2559. 66-70.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2546). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. นครนายก : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิธีการทางสถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
เดชฤทธิ์ มณีธรรม. (2552). รถเข็นผู้พิการที่ควบคุมด้วยไมโครคอนโทรเลอร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี
สมศักดิ์ เปรมประสงค์. (2553). รถนั่งเคลื่อนที่อเนกประสงค์. ปทุมธานี : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.