การพัฒนาชุดสื่อการเรียนรู้นอกเวลาเรื่องการออกแบบป้ายภายในวัด กรณีศึกษา วัดมัชฌันติการาม กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ชุดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง, การออกแบบ, วัดมัชฌันติการามบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหาประสิทธิภาพการเรียนรู้ด้วยตนเองนอกเวลา เรื่องการออกแบบป้ายภายในวัด กรณีศึกษาวัดมัชฌันติการาม กทม. เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษา หลังจากทำการศึกษาด้วยชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองนอกเวลาเทียบกับก่อนเรียน มีวิธีการดำเนินการวิจัยโดย ผู้วิจัยพัฒนาสื่อการเรียนรู้นอกเวลา เรื่องการออกแบบป้ายภายในวัด กรณีศึกษาวัดมัชฌันติการาม กทม. และได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาโดยทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและชุมชน ในภาคการศึกษาที่2/2562 จำนวน 85 คน เนื้อหาสำหรับชุดการเรียนรู้ด้วยตัวเองแบบมัลติมีเดียได้จากการวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา การทดลองด้วยการให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนการเรียน (Pre-Test) วัดผลสัมฤทธิ์ระหว่างเรียน เมื่อครบรายละเอียดในรายวิชาแล้ว ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์หลังการเรียน (Post-Test) พร้อมแบบสอบถามความพึงพอใจชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองนอกเวลา จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์
โดยผลการวิจัยพบว่า ชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเองนอกเวลา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.22/81.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และนักศึกษามีค่าเฉลี่ยของคะแนนจากการทำแบบทดสอบหลังการเรียนรู้ชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองนอกเวลา มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยการทำแบบทดสอบก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 และความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองนอกเวลา พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมาก
References
ธนิก เลิศชาญฤทธ์. (2554). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
ชูวิทย์ สุจฉายา. (2552). การอนุรักษ์เมือง Urban Conservation. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
พรทิพย์ เรืองธรรม. (2556). โปรแกรมการออกแบบสำหรับสถาปัตยกรรมภายใน. มหาสารคาม : อินทนิล.
ชัยรัตน์ อัศวางกูร. (2550). ออกแบบให้โดนใจ คู่มือการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการและนักออกแบบ. กรุงเทพมหานคร : วิทอินบุ๊คส์.
Sintapanon, S. (2018). Innovative Teaching Teacher of the New Era. To Develop the Skills of Learners in the 21st Century. Bangkok : Chulalongkorn University.
Khemmani, T. (2016). Teaching Science: Knowledge to the Learning Process Effective (20th ed). Bangkok : Chulalongkorn University.
Gagne, R. M. (1970). The Conditions of Learning. 2nd ed. New York : Holt Rinehart and Winston.
หทัยรัตน์ ลิ้มกุล และพัลลภ พิริยะสุรวงศ์. การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งตามขั้นตอนการสอนของกาเย่ เรื่อง หลักการใช้ภาษาโรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2555, 10-17.
อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์ และศรัณยวัฒน์ พลเรียงโพน. (2558). การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง การ สร้างผังงานด้วยโปรแกรม Microsoft Visio 2010 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการการ จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2558, 61-68.