การสร้างและหาสมรรถนะการใช้งานอุปกรณ์ตัดขั้วผลสับปะรด

ผู้แต่ง

  • ธีระ นัคราบัณฑิตย์ แผนกวิชาช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • ธนกฤต รุ่งอรุณสุวรรณ แผนกวิชาช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

อุปกรณ์ตัดขั้วผลสับปะรด, สมรรถนะอุปกรณ์ตัดขั้วผลสับปะรด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) สร้างอุปกรณ์ตัดขั้วผลสับปะรด 2) เปรียบเทียบสมรรถนะการใช้งานอุปกรณ์ตัดขั้วผลสับปะรดกับการใช้มีดตัด และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานอุปกรณ์ตัดขั้วผลสับปะรด กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือกลุ่มเกษตรกรที่ทำสวนสับปะรดจำนวน 30 คน ในเขตอำเภอควนเนียง และอำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกผลการทดลองและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

จากการวิจัยพบว่าอุปกรณ์ตัดขั้วผลสับปะรดโครงสร้างทำจากเหล็กเส้นซึ่งมีความแข็งแรง ใบมีดทำจากเหล็กกล้าผ่านการชุบแข็ง มีลักษณะโค้งใช้สำหรับเกี่ยวขั้วผลสับปะรดให้ขาด ด้านบนของใบมีดมีแขนรองรับก้านและผลสับปะรดเพื่อให้ผลสับปะรดติดขึ้นมากับมีดเวลาตัดขาดทำให้ไม่ต้องก้มลงไปเก็บ จากการทดลองใช้พบว่าอุปกรณ์ตัดขั้วผลสับปะรดมีสมรรถนะการใช้งานสูงกว่าการใช้มีดแบบเดิมร้อยละ 29.82 และเมื่อศึกษาความพึงพอใจต่ออุปกรณ์ตัดขั้วผลสับปะรดมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

References

[1] แพทย์แผนไทยท้องถิ่นทุ่งสง. (2560). [ออนไลน์]. สับปะรด. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2563]. จาก www.tungsong.com/samunpai/drug/60_Pineapple/pineapple.htm.
[2] สุจิต เมืองสุข. (2561). [ออนไลน์]. อุปกรณ์ตัดสับปะรดในไร่ของ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ลดต้นทุนแก้ปัญหาแรงงาน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563]. จาก www.technologychaoban.com/young-
farmer/article_62898.
[3] สุรีรัตน์ ไชยชะนะ. (2555). การรับรู้ความสามารถตนเองที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคปวดหลังส่วนล่างในแผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเถิน จังหวัดลำปาง. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[4] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
[5] นงนุช ภัทราคร. (2538). สถิติการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน์.
[6] จรัญ จันทรลักษณ์ และอนันตชัย เขื่อนธรรม. (2540). สถิติเบื้องต้นแบบประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
[7] ทรงวิทย์ จันทร์ช่วง, ชนิสรา รุ่งฉาย และชัยนันท์ รักษ์เจริญ. (2559). อุปกรณ์ตัดสับปะรดในไร่. โครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ประเภท สิ่งประดิษฐ์ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต ปี 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2020