การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงสำหรับครูผู้สอนอาชีวศึกษา

ผู้แต่ง

  • อภิชาติ เนินพรหม ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคใต้ จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูอาชีวศึกษา, ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล, การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงสำหรับครูผู้สอนอาชีวศึกษา และ 2) เพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงสำหรับครูผู้สอนอาชีวศึกษา โดยรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายเป็นครูผู้สอนอาชีวศึกษาภาคใต้ ทั้งรัฐบาลและเอกชนในระบบ จำนวน 100 สถานศึกษา รวม 113 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้แบบแผนการทดลองกลุ่มเดียวทดสอบก่อนหลัง (One group Pretest-Posttest Design) ในปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบวัดความรู้การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง  แบบวัดผลการปฏิบัติงานการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง แบบวัดความพึงพอใจของผู้ใช้หลักสูตรฝึกอบรม และแบบนิเทศติดตามการใช้หลักสูตรฝึกอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ (Relative Gain Score) และทดสอบค่าที (Dependent t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงสำหรับครูผู้สอน มีองค์ประกอบหลักที่สำคัญ 6 ส่วน ได้แก่ หลักการและเหตุผลของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาสาระหลักสูตร การจัดกิจกรรมของหลักสูตร สื่อประกอบการฝึกอบรม และการประเมินผลหลักสูตร โดยหลักสูตรและเอกสารประกอบของหลักสูตรมีความสอดคล้อง มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก 2) ผลการประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงสำหรับครูผู้สอนอาชีวศึกษา พบว่า ด้านความรู้โดยผู้ใช้หลักสูตรฝึกอบรมมีพัฒนาการความรู้อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงของผู้ใช้หลักสูตรร้อยละ 85.84  ผลความพึงพอใจของผู้ใช้หลักสูตรฝึกอบรม ภาพรวมพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการนิเทศติดตามการใช้หลักสูตรฝึกอบรม ภาพรวมมีการนำไปใช้อยู่ในระดับดี

References

[1] นิกร จันภิลม และคณะ. (2562). เทคโนโลยีการศึกษาในยุค Thailand 4.0. วารสารปัญญาภิวัฒน์. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2562. 304-314.
[2] ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล. (2562). [ออนไลน์]. สุดยอดแอพพลิเคชั่นแห่งการประเมินผลการเรียนรู้. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2562]. จาก https://www.scimath.org/article-technology/item/10115-2019-04-19-03-47-12
[3] กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์. (2559). แนวคิดการประเมินที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของนิสิตในยุคศตวรรษที่ 21 : การประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริง.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา. (เอกสารอัดสำเนา).
[4] ณัฐชานันท์ นุเสน. (2561). กระบวนการพัฒนาครู ด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561. 409-426.
[5] Hartley, S. (2011). Communication, Cultural and Media Studies: the Key Concepts. Oxford : Routledge.
[6] กณิชชา ศิริศักดิ์. (2559). การวิจัยหลักสูตรวิชาชีพครูเพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัล.ปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา. ครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[7] วิไลวัลย์ โพธิ์ทอง. (2561). เทคโนโลยีกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตของครู. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2561. 18-26.
[8] อดิศักดิ์ จำปาทอง. (2556). Digital Spherere โลกยุคใหม่ของสื่อดิจิทัล. กรุงเทพธุรกิจ. [วันพุธ ที่ 21 มีนาคม 2556].
[9] พิพัฒน์ อัฒพุธและคณะ. (2560). ผลการใช้สื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก วิชาการออกแบบ และผลิตสื่อกราฟิกคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2560. 145-154.
[10] โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2562). ความเป็นมนุษย์ในโลกดิจิทัล.ปาฐกถาเปิดการประชุมวิชาการมานุษยวิทยาครั้งที่ 13 หัวข้อ “มนุษย์ในโลกดิจิทัล” ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) วันที่ 4 กรกฎาคม 2562.
[11] แขก มูลเดช. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
[12] ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง และคณะ. (2558). การพัฒนาครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมการสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2558. 112-113.
[13] สุทธนู ศรีไสย์. (2551). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[14] พงศ์เทพ จิระโร. (2556). เอกสารประกอบการอบรมโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงและการวิจัยเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูผู้สอน.
[15] Kanjanawasee, S. (1989). Alternative strategies for policy analysis : An assessment of school effects an students’ cognitive and effective mathematics outcomes in lower secondary school in Thailand. Doctoral Dissertation.LA : university of California.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2020