การประเมินผลการจัดการศึกษาของหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ (5 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

ผู้แต่ง

  • ทรงนคร การนา สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา
  • ธนัสถ์ นนทพุทธ สาขาวิชาไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

การประเมินผล, การจัดการศึกษา, หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลการจัดการศึกษาของหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ (5 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ศรีวิชัย และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลผลิตของหลักสูตรในด้านสมรรถนะของบัณฑิตที่เป็นจริงกับสมรรถนะของบัณฑิตที่คาดหวัง โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP (CIPP Model) เป็นกรอบในการประเมินหลักสูตร 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดตรวจสอบรายการ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า และชนิดคำถามปลายเปิด จำนวน 4 ชุด โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจากสาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ ประกอบด้วย อาจารย์ 6 คน นักศึกษา 70 คน บัณฑิต 24 คน ผู้ใช้บัณฑิต 8 คน รวมทั้งหมด 108 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที

          ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การประเมินบริบท พบว่าด้านจุดมุ่งหมาย ด้านโครงสร้าง และด้านเนื้อหารายวิชาของหลักสูตร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) การประเมินปัจจัยเบื้องต้น พบว่าด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านผู้เรียน ด้านสถานที่เรียน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านวัสดุอุปกรณ์ครุภัณฑ์การศึกษา และด้านกิจกรรม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) การประเมินกระบวนการ พบว่าด้านการบริหารหลักสูตร ด้านกระบวนการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และ 4) การประเมินผลผลิต พบว่าคุณลักษณะของบัณฑิตตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และคุณลักษณะของบัณฑิตตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบผลผลิตของหลักสูตรในด้านสมรรถนะของบัณฑิตที่เป็นจริงกับสมรรถนะของบัณฑิตที่คาดหวัง พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งตรงกับสมมติฐานการวิจัยโดยผู้ใช้บัณฑิตมีความคาดหวังในสมรรถนะของบัณฑิตที่คาดหวังสูงกว่าสมรรถนะของบัณฑิตที่เป็นจริง

References

[1] Wynne, E.A., & Ryan, K. (1993). Reclaiming out school: A handbook on teaching character, Academics, and Discipline. New York : Macmillan.
[2] ชวลิต ชูกำแพง. (2559). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร แนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[3] นิตยา เปลื้องนุช. (2555). การบริหารหลักสูตร (Curriculum Administration) (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
[4] คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. (2553). หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ (5 ปี) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2553). สงขลา : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี.
[5] คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. (2558). หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ (5 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2558). สงขลา : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี.
[6] ปิยะนารถ จันทร์เล็ก, ภัคพงศ์ ปวงสุข, และอังคณา อ่อนธานี. (2561). การประเมินผลการจัดการศึกษาและติดตามผลหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิตสาขาวิชาครุศาสตร์เกษตร (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะ
ครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารศึกษาศาสตร์. ปีที่ 29 ฉบับที่ 3. 190-203.
[7] รัตนะ บัวสนธ. (2556). รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2. 2-9.
[8] ไชยยันต์ ถาวระวรณ์, เมธี ธรรมวัฒนา, และมานพ แจ่มกระจ่าง. (2559). การประเมินผลหลักสูตร สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา ภาควิชาการอาชีวศึกษาและพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินตามแบบจำลองซิปป์. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม. ปีที่ 12 ฉบับที่ 1. 212-223.
[9] สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[10] บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน์การพิมพ์.
[11] วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย : เรื่องง่าย ๆ ที่บางครั้งก็ผิดพลาดได้. ข่าวสารวิจัยการศึกษา. ปีที่ 18 ฉบับที่ 3. 8-11.
[12] ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธาการพิมพ์.
[13] ราชกิจจานุเบกษา. (2556). ข้อบังคับคุรุสภา. มาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. เล่ม 130 ตอนพิเศษ
130 ง : 65-71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2020