การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพลทชิ้นส่วนประกอบคอยล์
คำสำคัญ:
กระบวนการผลิตเพลท, ชิ้นส่วนประกอบคอยล์, หลักการ ECRSบทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้างานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหาแนวทางปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเพลท 2) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเพลท ซึ่งการศึกษาค้นคว้านี้ได้ทำการระดมสมองกับผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ วิศวกรผลิต หัวหน้าหน่วยงานเพลท และพนักงานควบคุมเครื่องจักร พบว่าเกิดการรอคอยชิ้นส่วนเพลทในการประกอบคอยล์ จากการวิเคราะห์กระบวนการผลิตเพลทพบว่ากระบวนการขึ้นรูปชิ้นงานนั้นใช้เวลาในการผลิตมากที่สุด เนื่องจากกระบวนการขึ้นรูปเพลทเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างพนักงานและเครื่องจักร ผู้ศึกษาจึงใช้แผนภูมิการทำงานของคนและเครื่องจักรเพื่อวิเคราะห์สัดส่วนในการทำงานและนำหลักการ ECRS เข้ามาวิเคราะห์และหาแนวทางในการปรับปรุงเพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการขึ้นรูปเพลทนี้ โดยการศึกษารูปแบบคอยล์โครงพัดลมที่มีการขึ้นรูปเพลท 2 ชิ้นส่วน คือ 1) ชิ้นส่วนโครงพัดลม 2) ชิ้นส่วนเพลทด้านซ้ายขวา
ผลการวิจัย พบว่า รอบเวลาในกระบวนการขึ้นรูปเพลทลดลง ดังนี้ 1) การขึ้นรูปชิ้นส่วนโครงพัดลมลดลง 1,412 วินาที เหลือ 973 วินาที 2) การขึ้นรูปชิ้นส่วนเพลทด้านซ้าย-ขวา ลดลงจาก 2,346 วินาที เหลือ 1,684 วินาที
References
[2] ประเสริฐ อัครประถมพงศ์. (2554). [ออนไลน์]. การลดความสูญเปล่าหลักการ ECRS. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562]. จาก https://cpico.wordpress.com/2009/11/29.
[3] รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. (2552). การศึกษางานอุตสาหกรรม Industrial Work Study. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ท้อป,
[4] ธนิดา สุนารักษ์. (2555). การปรับปรุงประสิทธิภาพสายการผลิต กรณีศึกษา: สายการผลิตขดลวดแม่เหล็ก (Stator) รุ่น D Frame. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและโลจิสติกส์. คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
[5] ธนวรรณ อัศวไพบูลย์. (2562). การจัดการความสมดุลการประกอบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1. 164-180.
[6] ลัลนา สุวรรณา. (2560). การลดต้นทุนคลังบรรจุภัณฑ์ด้วยหลักการ ECRS กรณีศึกษาผู้ผลิตโคมไฟ.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. มหาวิทยาลัยศรีปทุม
[7] วุฒิพร ศรีไพโรจน์. (2558). การปรับปรุงกระบวนการผลิตและกำลังคนต่อสายการผลิต เพื่อลดต้นทุนแรงงาน. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม.
ภาควิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม. คณะคณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์