การศึกษาแนวทางการพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับรองรับการท่องเที่ยวโดยเรือสำราญ : กรณีศึกษาท่าเรือภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ เหสกุล สำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

แหล่งท่องเที่ยวชุมชน, ท่าเรือภูเก็ต, การท่องเที่ยวโดยเรือสำราญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเส้นทางและกิจกรรมการท่องเที่ยวสำหรับรองรับการท่องเที่ยวโดยเรือสำราญ 2) ศึกษาศักยภาพและความพร้อมของพื้นที่บริเวณท่าเรือที่สำคัญและพื้นที่ใกล้เคียงในการท่องเที่ยวโดยเรือสำราญ และ 3) เสนอแนวทางส่งเสริมให้ชุมชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวสำหรับรองรับการท่องเที่ยวโดยเรือสำราญ โดยดำเนินการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ประกอบการสายการเดินเรือสำราญ และบริษัทนำเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต จัดทำเส้นทางเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพเชื่อมโยงจากท่าเรือภูเก็ต จัดทำแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนที่เป็นจุดหมายปลายทางในแต่ละเส้นทาง  และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ผลการวิจัยพบว่า เส้นทางเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีศักยภาพเชื่อมโยงจากท่าเรือภูเก็ต กำหนดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนได้ 3 เส้นทาง คือ 1) เส้นทางท่องเที่ยว ชุมชนย่านเมืองเก่า 2) เส้นทางท่องเที่ยวชุมชนบ้านบ่อแร่และชุมชนบ้านบางโรง และ 3) เส้นทางท่องเที่ยวชุมชนบ้านกมลา ชุมชนบ้านแขนน และชุมชนบ้านท่าฉัตรไชย และแนวทางการพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชมรองรับการท่องเที่ยวโดยเรือสำราญ มี 9 ด้าน ได้แก่ ด้านการยกระดับมาตรฐานของชุมชน ด้านพื้นที่ ด้านภาษา ด้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ ด้านบรรจุภัณฑ์ ด้านการตลาด ด้านการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ ด้านการทดลองให้บริการ และด้านการทำความร่วมมือกับบริษัทนำเที่ยว

References

[1] Sarah Kennedy. (2019). [online]. Cruise trends & industry outlook. [Retrieved 20 July 2019]. from https://cruising.org/news-and-research/-/media/CLIA/Research/CLIA-2019-State-of-the-Industry.pdf.
[2] สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
[3] สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). สรุปสาระสำคัญของแผนการปฏิรูปประเทศ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
[4] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
[5] สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทารผ่านศึก.
[6] สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเรือสำราญ พ.ศ. 2561-2570. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
[7] Cruise Lines International Association. (2018). [online]. Cruise Lines International Association (CLIA) Releases 2019 Cruise Travel Trends and State of the Cruise Industry Outlook Report. [Retrieved 20 July 2019] from https://cruising.org/en/news-and-research/press-room/2018/december/2019-cruise-travel-trends-and-state-of-the-cruise-industry-outlook.
[8] ไพฑูรย์ มนต์พานทอง. (2558). [ออนไลน์]. การท่องเที่ยวเรือสำราญกับความท้าทาย. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2562]. จาก http://www.etatjournal.com/web/menu-read-tat/menu-2015/menu-42015/682-42015-cruise.
[9] ไพฑูรย์ มนต์พานทอง. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบการจัดการท่าเรือแบบผสมกับบริบทการท่องเที่ยวเรือสำราญ. WMS Journal of Management. ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม. 107-124.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2020