การพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นฟิล์มสมุนไพรลด-เลิกบุหรี่
คำสำคัญ:
แผ่นฟิล์ม, สมุนไพรเลิกบุหรี่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นฟิล์มสมุนไพรลด-เลิกบุหรี่ 2) ประเมินความพึงพอใจของกลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์แผ่นฟิล์มสมุนไพรลด-เลิกบุหรี่ การดำเนินงานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นฟิล์มสมุนไพรลด-เลิกบุหรี่ โดย 1) ศึกษาการเตรียมสมุนไพรด้วยการกลั่นไอน้ำและสกัดด้วยความร้อน 2) ศึกษาชนิดของสารเพิ่มความคงตัวเจลาติน แป้งข้าวโพด และแป้งท้าวยายม่อม 3) ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสม 3 สูตร 4) ศึกษาอุณหภูมิในการอบแผ่นฟิล์มสมุนไพรลด-เลิกบุหรี่ และ 5) ศึกษาสารปรุงแต่งรสชะเอมเทศ เมนทอล และเลมอน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูบบุหรี่ในพื้นที่หมู่ 4 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 30 คน ได้มาโดยการใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบทางประสาทสัมผัส และแบบสอบถามความพึงพอใจสถิติที่ใช้ในการวิจัยเป็น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการทดลอง พบว่า 1) การเตรียมสารสกัดพืชสมุนไพร 5 ชนิด คือ หญ้าดอกขาว โปร่งฟ้า ว่านสาวหลง สกัดด้วยไอน้ำ และกานพลู มะขามป้อม ใช้การสกัดด้วยน้ำร้อน 2) สารเพิ่มความคงตัวเจลาติน ผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชกรแพทย์แผนไทยให้คะแนนความชอบมากที่สุด 3) การทดสอบทางประสาทสัมผัสผู้เชี่ยวชาญให้คะแนนอัตราส่วนสูตรที่ 1 มากที่สุด 4) อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เหมาะสมในการอบแผ่นฟิล์มสมุนไพรลด-เลิกบุหรี่ มากที่สุด 5) สารปรุงแต่งรสชะเอมเทศ เมนทอล และเลมอน ผู้เชี่ยวชาญให้คะแนนความชอบด้านสีร้อยละ 85 และ 6) ผู้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์แผ่นฟิล์มสมุนไพรลด-เลิกบุหรี่ มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด
References
[2] ดลรวี ลีลารุ่งระยับ. (2551). การศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิพลของการออกกำลังกายร่วมกับการใช้สมุนไพรหญ้าดอกขาว เพื่อการเลิกบุหรี่เชิงปฏิบัติการในจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
[3] วันดี กฤษณพันธ์. (2539). สมุนไพรสารพัดประโยชน์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหิดล.
[4] วรายุทธ จันทร์ปลอด. (2558). การพัฒนาแผ่นฟิล์มระงับกลิ่นปากขึ้นรูปด้วยเทคนิคเอกซ์ทรูชัน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. ปีที่ 46 ฉบับที่ 3. 349-352.
[5] กัลยา วินิชย์บัญชา. (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือแห่ง จุฬาลงกรณ์.