ผลของการใช้กากมันสำปะหลังหมักยีสต์ในสูตรอาหารเป็ดเทศต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต

ผู้แต่ง

  • ศราวุฒิ นามวงษ์ แผนกวิชาสัตวศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่
  • สรสิชฐ์ โลจนภีระพงศ์ แผนกวิชาสัตวศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่

คำสำคัญ:

กากมันสำปะหลังหมักยีสต์, เป็ดเทศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการใช้กากมันสำปะหลังหมักยีสต์ในสูตรอาหารเป็ดเทศต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต และ 2) ศึกษาระดับที่เหมาะสมของการใช้กากมันสำปะหลังหมักยีสต์ในอาหารของเป็ดเทศ ใช้เป็ดเทศคละเพศทดลองตั้งแต่อายุ 15-90 วัน วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 10 ตัว อาหารทดลองผสมกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ ระดับร้อยละ 0, 10, 20 และ 30 ตามลำดับ ให้อาหารและให้น้ำอย่างเต็มที่ตลอดการทดลอง 90 วัน

ผลการทดลองพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลองเป็ดมีน้ำหนักตัวแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) อัตราการเจริญเติบโตแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ปริมาณอาหารที่กินตลอดการทดลอง แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อกลุ่มที่ได้รับกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ในอาหารร้อยละ 20 มีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับลำไยตกเกรดกลุ่มอื่น ซึ่งแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ทุกกลุ่มมีอัตราการรอดตายร้อยละ 100  กลุ่มที่ 4 มีต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมสูงที่สุด และกลุ่มที่ 1 มีต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนักตัวต่ำที่สุด ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) การใช้กากมันสำปะหลังหมักยีสต์ในอาหารเป็ดเทศสามารถผสมในอาหารสำหรับเลี้ยงเป็ดเทศได้สูงถึงร้อยละ 20

References

[1] พิชาด เขจรศาสตร์. (2560). [ออนไลน์]. กากมันสำปะหลังหมักยีสต์ อาหารสัตว์ต้นทุนต่ำ. หน่วยวิจัยวิทยาการขั้นสูงเพื่อการผลิตปศุสัตว์และสัตว์ปีก คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2560]. จาก fna.csc.ku.ac.th/wp.
[2] Baylis D. and Griffin M. (2015). [ออนไลน์]. Growth and Its Measurement in Plants and Animals. Bio Factsheet. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2560]. จาก http://www.moodle.itchen.ac.uk.
[3] สุภัตรา โอกระโทก. (2556). ผลของการใช้กากมันสำปะหลังหมักด้วยเชื้อรา Aspergillus Oryzae เพื่อเป็นอาหารในไก่ไข่. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
[4] นฤมล สมคุณา, จรัส สว่างทัพ, เอกสิทธิ์ สมคุณา, นิตยา พุ่มอำภา, นิพรรษา อินทร์แสง และยุภาพร นนเสนา. (2556). การเพิ่มระดับโปรตีนของกากมะพร้าวและมันสำปะหลัง โดยกระบวนการหมักยีสต์และยูเรีย. ว. วิทย. กษ. 44 (พิเศษ). 267-270.
[5] ศักดา ประจักษ์บุญเจษฎา, เยี่ยม คงสวัสดิ์ และมณฑล อ่อนโพธิ์เตี้ย. (2553). รายงานผลงานวิจัยกองอาหารสัตว์ ประจำปี พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร : กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
[6] ภาณุ อินทฤทธิ์ และรัตนา นึกเร็ว. (2552). การศึกษาการใช้หญ้าเนเปียร์หมัก ปากช่อง 1 ในอาหารเป็ดเทศ. กรุงเทพมหานคร : กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์.
[7] เฉลิมชัย จันทศร, ประสิทธิ์ ยิ้มเกตุ และชำนาญ บุญมี. (2561). สมรรถภาพการผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และคุณภาพซากของเป็ดเทศพื้นเมือง และเป็ดเทศลูกผสมกบินทร์บุรี-พื้นเมือง. วารสารวิชาการสำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์. กรุงเทพมหานคร : กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
[8] สุกัญญา ผลพาเลิศ, ณัฏฐนัณ แสนทวีสุข, ทรงศักดิ์ จำปาวะดี และเยาวมาลย์ ค้าเจริญ. (2556). ประสิทธิภาพของอิมัลซิไฟเออร์ภายนอกต่อสมรรถนะการผลิต และคุณภาพซากของไก่เนื้อ. แก่นเกษตร. ปีที่ 41 ฉบับพิเศษ 1. 33-39.
[9] พิเชษฐ์ จันทร์เป็ง, ประจิตต์ อุดหนุน, สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ และบุญล้อม ชีวะอิสระกุล. (2558). คุณค่าทางอาหารและการใช้ฝุ่นข้าวโพดจากการสีข้าวโพดในอาหารเป็ดไข่. วารสารสัตวศาสตร์แห่งประเทศไทย. ว. สัตวศาสตร์แห่งประเทศไทย. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1. 1-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-06-2020