การสร้างและหาประสิทธิภาพมิเตอร์อัจฉริยะวัดค่าพลังงานไฟฟ้าทั้งภาคครัวเรือนและอุตสาหกรรม แบบ Real Time

ผู้แต่ง

  • ประสาน ภัทรประสงค์ แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคพะเยา
  • สุทธิพันธ์ สุวรรณรัตน์ แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคพะเยา
  • สมยศ สุวรรณรัตน์ แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคพะเยา

คำสำคัญ:

มิเตอร์อัจฉริยะ, โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างมิเตอร์อัจฉริยะวัดค่าพลังงานไฟฟ้าทั้งภาคครัวเรือนและอุตสาหกรรมแบบ Real Time 2) ทดสอบหาประสิทธิภาพการทำงานของมิเตอร์อัจฉริยะ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อมิเตอร์อัจฉริยะ โดยผู้วิจัยได้นำมิเตอร์อัจฉริยะที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน และนำไปทดสอบกับมิเตอร์ที่ได้มาตรฐานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพื่อทดสอบหาประสิทธิภาพ

ผลจากการทดสอบมิเตอร์อัจฉริยะ สามารถวัดค่าได้ใกล้เคียงกับมิเตอร์ที่ได้มาตรฐานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ใช้ในปัจจุบันโดยมีค่าผิดพลาดเฉลี่ยอยู่ที่ 0.816% และการประเมินความพึงพอใจในการสร้างมิเตอร์อัจฉริยะของผู้เชี่ยวชาญพบว่า ด้านการออกแบบอุปกรณ์ ด้านประสิทธิภาพในการทำงาน และด้านความพึงพอใจภาพรวมของการใช้งานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง

References

[1] การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2554). [ออนไลน์].โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid). [สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2562]. จาก http://161.200.85.41/pea- smartgrid/index.php/smart-grid.
[2] ประดิษฐ์ เฟื่องฟู. (2554). [ออนไลน์].ระบบ Advanced Metering Infrastructure (AMI) สำหรับโครงข่ายไฟฟ้า. [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2562]. จาก http://161.200.85.41/pea- smartgrid/paper /ppt/ppt-AMI-dr.pradit.pdf.
[3] การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2552). [ออนไลน์]. ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. [สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563]. จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER6/DRAWER079/GENERAL/DATA 0001/00001953.PDF.
[4] กระทรวงพลังงาน. (2555). [ออนไลน์]. อัตราค่าไฟฟ้าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. [สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2561]. จาก http://www.eppo.go.th/power/pw-Rate-PEA.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-06-2020