การพัฒนาเครื่องบดวาล์วไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับเรือกลเดินทะเลด้วยแรงดันอากาศ

ผู้แต่ง

  • เจริญกิจ สังสิทธิเสถียร แผนกวิชาเทคนิคเครื่องกล วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช
  • ประเสริฐ คงสง แผนกวิชาเทคนิคเครื่องกล วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช
  • สุรินทร์ บุญสนอง แผนกวิชาเทคนิคเครื่องกล วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

เครื่องบดวาล์วเครื่องยนต์ดีเซล, เครื่องบดวาล์วแรงดันอากาศ, เครื่องบดวาล์วไอเสียเครื่องยนต์ดีเซล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องบดวาล์วไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับเรือกลเดินทะเลด้วยแรงดันอากาศ และ 2) หาประสิทธิภาพเครื่องบดวาล์วไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับเรือกลเดินทะเลด้วยแรงดันอากาศ โดยผู้วิจัยดำเนินการออกแบบและสร้างชุดยกวาล์วไอเสียด้วยแรงดันอากาศ ชุดประคองก้านวาล์วและชุดรองรับวาล์วกับบ่าวาล์วไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซล จากนั้นจึงให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเครื่องกล ด้านการใช้เครื่องบดวาล์ว จำนวน 5 คน ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องบดวาล์วไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับเรือกลเดินทะเลด้วยแรงดันอากาศ และให้ผู้ประกอบอาชีพคนประจำเรือฝ่ายช่างกลของเรือกลเดินทะเล จำนวน 5 คน ทดลองใช้และเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบประเมินความเหมาะสม แบบบันทึกผลการทดลอง และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้เครื่องบดวาล์วไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับเรือกลเดินทะเลด้วยแรงดันอากาศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยกับเครื่องบดวาล์วไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับเรือกลเดินทะเลด้วยแรงดันอากาศในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพของเครื่องบดวาล์วไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซล สำหรับเรือกลเดินทะเลโดยใช้แรงดันอากาศมีอัตราเร็วเฉลี่ยมากกว่าการใช้แรงงานคน คิดเป็นร้อยละ 94.04 ต่อการยกวาล์ว จำนวน 90 ครั้ง และผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อเครื่องบดวาล์วไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับเรือกลเดินทะเลด้วยแรงดันอากาศ ในระดับมากที่สุด จึงเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพต่อไป

References

[1] ประสานพงษ์ หาเรือนชีพ. (2555). งานเครื่องยนต์ดีเซล. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[2] ตระการ ก้าวกสิกรรม. (2539). คู่มือการเลือกใช้งานวาล์ว. กรุงเทพมหานคร : เอ็มแอนด์อี.
[3] ปานเพชร ชินินทร และขวัญชัย สิททิพย์สมบูรณ์. (2560). นิวแมติกอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือวิศวกรรม M&E.
[4] สุเทพ นุชิต. (2559). งานเชื่อมโลหะเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือเมืองไทย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-06-2020