การศึกษาความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป (ต่อเนื่อง) วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1

ผู้แต่ง

  • นฤมล อัคคพงศ์พันธุ์ แผนกวิชาการจัดการทั่วไป วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่
  • วสันต์ จันทรมูล แผนกวิชาการจัดการทั่วไป วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความต้องการศึกษาต่อ, หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทั่วไป

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป (ต่อเนื่อง) ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 2) ศึกษาถึงรายวิชาเฉพาะด้านกลุ่มวิชาเทคโนโลยีเฉพาะสาขาในหลักสูตรที่ต้องการให้มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร และ 3) ศึกษาถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อหลักสูตร โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1 และ 2 สาขาวิชาการจัดการทั่วไป ประจำปีการศึกษา 2561 ของสถาบันการอาชีวศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตภาคเหนือ จำนวน 67 คน และผู้ที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่ทำความร่วมมือในระบบทวิภาคีกับวิทยาลัยในเขตจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 70 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในหลักสูตร จำนวน 133 คน คิดเป็นร้อยละ 97.10 โดยสาเหตุที่ต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรมากที่สุด คือ เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในระดับที่สูงขึ้น และต้องการวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรี โดยสามารถศึกษาต่อได้ทันที ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 35.30 และจะศึกษาต่อในช่วงปีการศึกษา 2563 – 2564 จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 48.10 โดยส่วนใหญ่มีความสะดวกที่จะศึกษาต่อในวันเสาร์ อาทิตย์ เวลา 08.00 – 17.00 น. (หยุดเรียนวันจันทร์) 2) รายวิชาที่ผู้สนใจศึกษาต่อในหลักสูตรต้องการให้มีในหลักสูตร 8 ลำดับ คือ (1) วิชาองค์การและการจัดการสมัยใหม่ และวิชาการเป็นผู้ประกอบการและการจัดการธุรกิจสมัยใหม่ (2) วิชาการตลาดยุคดิจิตอล (3) วิชาการจัดการนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง วิชาการจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ (4) วิชาการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (5) วิชาการบริหารงานสำนักงาน (6) วิชาการบัญชีเพื่อการจัดการและการจัดการทางการเงิน (7) วิชากลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (8) วิชาการควบคุมคุณภาพ 3) ผู้ที่สนใจศึกษาต่อในหลักสูตรมีความเชื่อมั่นในทุกด้านอยู่ในระดับมาก และด้านค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรไม่สูงมาก มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และด้านสถานที่ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการสอน มีความครบถ้วน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด

References

[1] สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1. (2561) . [ออนไลน์]. วิสัยทัศน์ของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2561]. จาก http://www.iven1.ac.th/main/index.php?option=com_content&view=article&id=178&Itemid=223.
[2] สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). [ออนไลน์]. การศึกษาแนวโน้มความต้องการแรงงานของตลาดแรงงานไทย ช่วงปี 2560-2564. [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2561]. จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/สำรวจ/ด้านสังคม/แรงงาน/แนวโน้มความต้องการแรงงาน.aspx.
[3] บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-06-2020