การพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบควบคุมฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์อัตโนมัติ

ผู้แต่ง

  • สุธีร์ ก่อบุญขวัญ แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • สิทธิพงษ์ จีนหมั้น แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • วรวุฒิ ตั้งนรกุล แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • จิรพล บุญยัง แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • บุรณิส ดำใหม่ แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ผักไฮโดรโปนิกส์, ระบบควบคุมอุณหภูมิ, ระบบน้ำไหลวน, ระบบส่งข้อมูลภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง หาประสิทธิภาพ และความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบควบคุมฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์อัตโนมัติ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรที่ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ม.1 ต.หัวเตย อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี จำนวน 10 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ระบบควบคุมฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์อัตโนมัติ แบบบันทึกการหาประสิทธิภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยสร้างระบบควบคุมฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์อัตโนมัติ จากนั้นทำการทดสอบการทำงานเพื่อหาประสิทธิภาพ และดำเนินการให้เกษตรกรทดลองใช้ระบบควบคุมฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์อัตโนมัติ และตอบแบบประเมินความพึงพอใจ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการทำงานของระบบควบคุมอุณหภูมิ เมื่อกำหนดอุณหภูมิไว้ที่ 25 °C ปรากฏว่าที่อุณหภูมิ 20-24 °C ระบบควบคุมอุณหภูมิไม่สั่งพ่นละอองน้ำ และเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก 25-29 °C ระบบสั่งพ่นละอองน้ำ ระบบทำงานถูกต้องคิดเป็น 100 % 2) ประสิทธิภาพการทำงานของระบบน้ำไหลวน โดยการสั่งงานผ่านสมาร์ตโฟน จากการสั่งเปิดระบบจ่ายน้ำ 5 ครั้ง และสั่งปิดระบบจ่ายน้ำ 5 ครั้ง ระบบน้ำไหลวนทำงานได้ถูกต้องทุกครั้ง คิดเป็น 100 % 3) ประสิทธิภาพการทำงานของระบบส่งข้อมูลภาพถ่ายผ่านแอปพลิเคชันไลน์ สั่งงานผ่านสมาร์ตโฟน สามารถทำงานได้ถูกต้องทั้ง 10 ครั้ง คิดเป็น 100 % ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยด้านประสิทธิภาพในการใช้งานมีค่าความพึงพอใจอยู่ในระตับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านโครงสร้างและการออกแบบกับด้านการบำรุงรักษาและความปลอดภัย มีค่าความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

References

[1] กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2561). [ออนไลน์]. สรุปสาระสำคัญโครงการตามนโยบายสำคัญ (Agenda) 15 โครงการ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2561]. จาก http://www.moac.go.th/knowledge_moac-download.
[2] กรมส่งเสริมการเกษตร. (2558). [ออนไลน์]. การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2561]. จาก http://www.servicelink.doae.go.th/corner%20book/book%2005/Hydropronic.pdf.
[3] สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ โครงการศูนย์ความรู้กินได้. (2560). [ออนไลน์]. ผักไฮโดรโปนิกส์ กล่องความรู้กินได้. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2561]. จาก http://www.okmd.or.th/upload/pdf/2560/KC/vegetables-hydroponics.pdf.
[4] ศิวกร จินดารัตน์. (2557). ระบบจัดการฟาร์มไก่อัจฉริยะด้วยราสเบอรี่ไพและอาดุยโน่. สารนิพนธ์ ภาควิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[5] กมลรัตน์ ดีสภา และคณะ. (2561). การพัฒนาเครื่องกวนขนมเปียกปูนสำหรับใช้ในชุมชน. การประชุม วิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 32. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. นครราชสีมา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-06-2020