การศึกษาสมบัติของสีผงจากธรรมชาติสำหรับผสมยางพารา

ผู้แต่ง

  • สายฝน แก้วสม แผนกวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • ปรัชญา กาญจนารัตน์ แผนกวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • นุชจรี สุกใส แผนกวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • วัชรินทร์ รัศมี แผนกวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • สัตยา หัตถิยา แผนกวิชาช่างยางและพอลิเมอร์ วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

สีผงสำหรับยาง, สมบัติของสีผงจากธรรมชาติ, สมบัติเชิงกลของยางพารา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมบัติทางกายภาพของสีผงจากธรรมชาติสำหรับผสมยางพารา 2) ศึกษาสมบัติเชิงกลของยางพาราที่ผสมสีผงจากธรรมชาติ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพและสมบัติเชิงกลระหว่างสีผงจากธรรมชาติและสีผงสังเคราะห์ โดยวิธีการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้นำพืชธรรมชาติ ซึ่งเป็นพืชสด ได้แก่ ขมิ้นและกะเพรา และกากพืช ได้แก่ กากชาไทย กากชาเขียว และกากกาแฟ มาผลิตเป็นผงสีสำหรับยางพารา ทำการทดสอบสมบัติทางกายภาพของผงสี โดยศึกษาลักษณะของสีที่ได้ ความเป็นกรด-เบส และความหนาแน่น จากนั้นศึกษาสมบัติเชิงกลของยางพาราผสมสีผงจากธรรมชาติแต่ละชนิด ด้วยการทดสอบสมบัติด้านความแข็ง ความต้านทานต่อแรงดึง และการยืดตัว ณ จุดขาด โดยเปรียบเทียบกับสีสังเคราะห์ที่ใช้กันโดยทั่วไป

ผลการวิจัย พบว่า สีผงจากธรรมชาติ ได้แก่ ขมิ้น กระเพรา กากชาไทย กากชาเขียว และ กากกาแฟ ให้สี เหลือง เขียวแก่ น้ำตาลเทา เขียวอ่อน และน้ำตาลอมม่วง ตามลำดับ โดยสีผงจากธรรมชาติให้สมบัติความเป็นกรด-เบส อยู่ที่ pH 5.5 - 7 ซึ่งใกล้เคียงกับยางพารา จึงสามารถบดผสมเข้ากับยางได้ และสีผงจากธรรมชาติค่าความหนาแน่นน้อยกว่าสีสังเคราะห์ และจากการศึกษาสมบัติเชิงกลของสีผงจากธรรมชาติผสมกับยางพารา ได้แก่ ความต้านทานต่อแรงดึง และ การยืด ณ จุดขาด และความแข็ง พบว่า สีผงจากธรรมชาติให้ค่าใกล้เคียงกัน และเมื่อเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพและสมบัติเชิงกล พบว่า สีผงจากธรรมชาติมีค่าน้อยกว่าสีสังเคราะห์เพียงเล็กน้อย ซึ่งสามารถนำไปใช้ผสมกับยางพาราทดแทนสีสังเคราะห์ได้

References

[1] ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2558). ฝ่าวิกฤติยางพาราไทยปี 58 : ทางเลือก & ทางรอดของชาวสวนยางท่ามกลาง แรงกดดันด้านราคา. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. ปีที่ 21 ฉบับที่ 2609. 1-5.
[2] วิภาวี พัฒนกุล. (2554). [ออนไลน์]. ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์. [สืบคนเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562]. จาก http://rubberthai.com/yang/administrator/jour/98.pdf.
[3] วราภรณ์ ขจรไชยกูล. (2552). สารเคมีสำหรับยาง : กระบวนการผลิตและเทคโนโลยี. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). 52-101.
[4] นิตยา มหาไชยวงศ์. (2550). [ออนไลน์]. สีธรรมชาติ. สืบคนเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562]. จาก http://www.ist.cmu.ac.th/cotton/naturalColor_Human.php?subnav=3.
[5] พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์, นิธิยา รัตนาปนนท์. (2562). [ออนไลน์]. Bulk Density / ความหนาแน่นรวม. [สืบคนเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562]. จาก http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0747/bulk-density-ความหนาแน่นรวม.
[6] Storer R.A. (1994). ANNUAL BOOK of ASTM STANDARDS: Rubber. Volume 09.01. U.S.A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-06-2020