เครื่องอบแห้งกุ้งพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานความร้อน

ผู้แต่ง

  • พิระ วิจะสิกะ สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • ภานุวัฒน์ แก้วพิชัย สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • เชาวโชค ทองเรือง สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • วิทยา โพธิ์ถาวร สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
  • นพดล เมืองแก้ว สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

พลังงานแสงอาทิตย์, เครื่องอบแห้ง, ระบบกักเก็บพลังงานความร้อน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและสร้างเครื่องอบแห้งกุ้งพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานความร้อน 2) ศึกษาพารามิเตอร์ของเครื่องอบแห้งกุ้งพลังงานจากแสงอาทิตย์ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานความร้อน และ 3) ศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐศาสตร์ของเครื่องอบแห้งกุ้งพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานความร้อนโดยที่เครื่องอบแห้งกุ้งจะใช้น้ำเป็นตัวดึงความร้อนจากแผงรับรังสีแสงอาทิตย์แบบแผ่นเรียบผ่านตัวแลกเปลี่ยนความร้อน (แบบน้ำ-อากาศ) ที่อยู่ภายในห้องอบแห้ง ในขณะที่ความร้อนส่วนที่เหลือจะถูกส่งผ่านเข้าสู่ถังกักเก็บพลังงานความร้อน ในการทดลองได้ใช้กุ้งทะเลสดต้มสุกเป็นตัวอย่างในการศึกษาทดลองและทำการบันทึกค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของเครื่องอบแห้งกุ้งในส่วนที่ส่งผลต่อกระบวนการอบแห้งกุ้ง เพื่อให้ได้กุ้งแห้งที่มีคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกุ้งแห้ง ในส่วนการวิเคราะห์ผลการทดลองได้ใช้หลักทฤษฎีประเมินค่าพารามิเตอร์ประสิทธิภาพของระบบ

ในการทดลองควบคุมอัตราการไหลของน้ำหมุนเวียนระบบที่ 4 LPM 6 LPM และ 8 LPM พบว่าที่อัตราการไหลน้ำ 8 LPM ให้ค่าพารามิเตอร์และประสิทธิภาพทุกอย่างที่ดีที่สุดส่วนอุณหภูมิที่เหมาะสมของน้ำที่ออกจากแผงรับแสงอาทิตย์ มีค่าระหว่าง 50-70 °C อุณหภูมิเฉลี่ยภายในตู้อบแห้งมีค่าระหว่าง 40-65 °C อุณหภูมิเฉลี่ยภายในถังกักเก็บพลังงานความร้อนมีค่าระหว่าง 50-62 °C ผลประสิทธิภาพการประจุพลังงานความร้อนเข้าถังกักเก็บมีประสิทธิภาพสูงสุด 85% ประสิทธิภาพเชิงความร้อนของระบบเท่ากับ 65.18 % ค่าความชื้นสุดท้ายของกุ้งที่อบแห้ง 25 %db ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกุ้งแห้ง สามารถอบแห้งกุ้งให้แห้งภายในระยะเวลา 1 วัน การวิเคราะห์ค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเครื่องอบแห้งกุ้งมีจุดคุ้มทุนที่ 1.135 ปี

References

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). [ออนไลน์]. แนวโน้มอุตสาหกรรม. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563]. จาก https://kasikornresearch.com/TH/analysis/k-econ/business/Pages/index.aspx?c=359.

สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย. (2559). [ออนไลน์]. Shrimp. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563]. จาก https://thai-frozen.or.th/index.php/product-gallery/shrimp.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2533). [ออนไลน์]. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกุ้งแห้ง มอก.1003-2533. [สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2563]. จาก https://www.acfs.go.th/standard/download/dried_shrimp.pdf.

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). [ออนไลน์]. สารพาราฟิน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2563]. จาก http://oldweb.most.go.th/main/index.php/media-library/sci-daily-words/2899-paraffin-wax-.html.

ทวีวัฒน์ สุภารส. (2548). สมรรถนะทางความร้อนของระบบกักเก็บพลังงานในรูปความร้อนสัมผัสเพื่อใช้เป็นพลังงานเสริมในการอบแห้งระหว่างกระบวนการประจุความร้อนและกระบวนการดึงความร้อน. การประชุมวิชาการครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2021