พื้นที่นักประดิษฐ์ วิถีคิดการสร้างนวัตกรยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • เรืออากาศโทสมพร ปานดำ ผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา รักษาการที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาช่างอุตสาหกรรม

บทคัดย่อ

พื้นที่นักประดิษฐ์ คือสถานที่ซึ่งอาจจะเป็นเป็นห้อง หรือโถง ที่จัดทำขึ้นมาเพื่อเก็บรวบรวม วัสดุ เครื่องมือเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ หรือพัฒนาต่อยอดสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งพื้นที่นักประดิษฐ์เป็นแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะของนักเรียน นักศึกษาหรือผู้ที่สนใจ ให้เกิดทักษะที่สำคัญสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

พื้นที่นักประดิษฐ์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ และช่วยสร้างสมรรถนะนวัตกรของผู้เรียนอาชีวศึกษา เพราะในพื้นที่นักประดิษฐ์ จะจัดให้มีวัสดุ อุปกรณ์หรือสิ่งที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ควบคู่ไปกับเครื่องมือและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่พร้อมให้สร้างสิ่งประดิษฐ์ นำไปสู่การพัฒนาและสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์และใช้งานได้จริง ที่สำคัญคือ พื้นที่นักประดิษฐ์เป็นสิ่งที่เป็นมากกว่าสถานที่ มากกว่าห้องปฏิบัติการหรือ โรงประลอง แต่เป็นสถานที่ในการสร้างแนวความคิดที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น  พื้นที่นักประดิษฐ์จึงเป็นสถานที่ที่สามารถพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา จากผู้บริโภค หรือผู้ใช้งานนวัตกรรมต่าง ๆ ให้กลายเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมสิ่งใหม่ขึ้นมา นำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิสาหกิจสำหรับธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ (Start Up) ซึ่งสามารถต่อยอดในเชิงธุรกิจได้ 

การพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาให้มีสมรรถนะนวัตกรผ่านการสร้างพื้นที่นักประดิษฐ์ จึงเป็นแนวคิดที่น่าสนใจยิ่งสำหรับการนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศ ผ่านการศึกษาที่สร้างคน คนที่สร้างนวัตกรรม ด้วยระบบการศึกษาที่พัฒนาศักยภาพมนุษย์นำไปสู่การยกระดับการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจตามภูมิภาคต่างๆ เพื่อเป็นกลไกที่สำคัญในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0 ที่จะขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม สามารถตอบสนองการพัฒนาประเทศอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

References

[1] ศศิมา สุขสว่าง. (2559). [ออนไลน์]. ประเทศไทย 4.0. [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563]. จาก https://www.sasimasuk.com.
[2] ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). ไขรหัส "ประเทศไทย 4.0" สร้างเศรษฐกิจใหม่ ก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง. [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563]. จาก https://www.thairath.co.th/content/613903.
[3] Oxford English Dictionary. [Online]. Meaning of makerspace in English. [Retrieved January 25, 2020]. From https://www.lexico.com/definition/makerspace.
[4] Dale Dougherty. (2012). [Online]. THE MAKER MINDSET. [Retrieved January 25, 2020]. from MIT Press Journals https://llk.media.mit.edu/courses/readings/maker-mindset.pdf.
[5] Rebecca Helen Johnson. (2018). School-based and Museum-based Makerspaces. Theses and Dissertations. University of Wisconsin-Milwaukee.
[6] National Inventors Hall of Fame. (2020). [Online]. What are the Benefits of a Makerspace?. [Retrieved January 25, 2020]. from https://www.invent.org/blog/trends-stem/benefits-makerspace.
[7] Weebly. (2020). [Online]. Makerspace for Education. [Retrieved January 25, 2020]. from http://www.makerspaceforeducation.com/makerspace.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-06-2020