การศึกษาความเป็นไปได้เชิงพื้นที่ของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ กรณีศึกษา พื้นที่ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
สถานการณ์การใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้หน่วยงานภาครัฐต้องจัดหาแหล่งพลังงานแหล่งใหม่เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้า และเสริมความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทดแทนที่ได้จากธรรมชาติเป็นพลังงานที่สะอาดที่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างไม่จำกัดและสามารถเข้าถึงได้ทุกพื้นที่ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้เชิงพื้นที่เพื่อการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ กรณีศึกษา พื้นที่ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง จากการศึกษาพื้นที่กรณีศึกษา โดยสำรวจพื้นที่ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์หาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมพร้อมทั้งดำเนินการประเมินพื้นที่ หมู่บ้านจำปุย ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ว่างเปล่ามากกว่า 420,000 ตารางเมตร จากการจำลองการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยซอฟต์แวร์ PVsyst 7.1 พบว่าสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ย 815.2 MWh ต่อปี ส่งผลทำให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 488.0 tCO2-eq /ปี หรือ 11,494.8 tCO2-eq ตลอดอายุโครงการ 25 ปี เมื่อพิจารณาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์พบว่า มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยปรับเฉลี่ย (LCOE) ตลอดอายุโครงการเท่ากับ 1.102 บาท/kWh มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 26,836,588 บาท มีค่าผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) เท่ากับ 311.97% และมีค่าระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 3.63 ปี พื้นที่ดังกล่าวจึงเป็นพื้นที่ที่สามารถติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้และเกิดความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย, (สืบค้นจาก https://shorturl.at/iDNS3).
สำ นักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน, รายงานสถานการณ์พลังงานปี 2566 และแนวโน้มปี 2567. กระทรวงพลังงาน, (2566).
สำ นักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน, รายงานสถานการณ์พลังงาน (รายไตรมาส) ครึ่งปีแรกของปี 2566. กระทรวงพลังงาน, (2566).
สำ นักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน, โครงการลดใช้พลังงานในภาครัฐ. (สืบค้นจาก https://e-report.energy.go.th/cpr66/elec.php?dept=47514), (2566).
กนิษฐ์กานต์ ปันแก้ว, การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์บ้านจำปุย อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำ ปาง. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(1), หน้า 144-155, (2560).
เนตรชนากานต์ สุนันตา และ เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล, การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากขยะเทศบาล ด้วยระบบวัฏจักรแรงคินสารอินทรีย์. วารสารเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 1(1), หน้า 144-155, (2560).
ธนาพล ตันติสัตยกุล, พีรพล รัศมีธรรมโชติ, และ เมฑาพรอุยสกุล, การประเมินผลประโยชน์ทางพลังงานสิ่งแวดล้อม และเศรษฐศาสตร์สำ หรับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(6), หน้า 1083-1099, (2560).
อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์, บทความการตัดสินใจเพื่อการลงทุน. (สืบค้นจาก https://home.kku.ac.th/anuton/3526301/Doc_04.pdf, (2554).
อมรศิริ ดิสสร, แนวโน้มการวัดผลตอบแทนการลงทุน (ROI) การฝึกอบรมแบบจําลองสมองแห่งการเรียนรู้. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 15(2), หน้า 98-107, (2561).
ฉัตรธิดา อิ่มแสวง และ ชิดตะวัน ชนะกุล, การศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการเงินในการลงทุนโครงการ Co-Working Space ในกรุงเทพมหานคร: พื้นที่รัชดาภิเษกบริเวณแนวรถไฟฟ้า MRT. Journal of Buddhist Education and Research : JBER, 6(2), หน้า 136-149, (2563).
สิรินันท์ บุตรเต, วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนเพื่อขยายโรงงานผลิตเครื่องมือตัด. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, (2555).
พีระวุฒิ ชินวรรังสี และคณะ, การประเมินสมรรถนะและความคุมค่าของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์แบบหลายเทคโนโลยีที่ติดตั้งบนหลังคาในประเทศไทย. วิศวสารลาดกระบัง, 32(2), หน้า 19-24, (2558).
N. Caglayan, The Technical and Economic Assessment of a Solar Rooftop Grid-Connected Photovoltaic System for a Dairy Farm. Energies, 16(20), p. 7043, (2023)
ราชันย์ ชูชาติ, การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินของโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ กรณีศึกษาโรงงานผลิตไม้ยางพาราแปรรูปในจังหวัดตรัง. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, (2562).
เขมิกา จิตจำ นงค์, “การศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาสำหรับอาคารสำ นักงานเชิงพาณิชย์ กรณีศึกษาโครงการซัมเมอร์ ลาซาล. สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, (2560)