การประยุกต์ใช้ข้อมูลระยะเวลาเดินทางของคลื่นยักษ์สึนามิเพื่อการเตือนภัยหน่วยงานของกองทัพเรือซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์นำข้อมูลระยะเวลาการเดินทางของคลื่นยักษ์สึนามิมาใช้เพื่อการเตือนภัยหน่วยของกองทัพเรือซึ่งมีที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยพิจารณากำหนดจุดกำเนิดแผ่นดินไหวที่มีศักยภาพตามแนวรอยเลื่อนแผ่นเปลือกโลกอินโด - ออสเตรเลียน (Indo – Australian Plate) กับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียน (Eurasian Plate) ในทะเลอันดามันระหว่างละติจูด 2°00´ ถึง 16°00´ เหนือ และระหว่างลองจิจูด 92°00´ ถึง 98°00´ ตะวันออก เพื่อนำไปคำนวณหาระยะเวลาเดินทางของคลื่นยักษ์สึนามิไปยังพื้นที่บริเวณชายฝั่งซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยงานต่างๆ ของกองทัพเรือในจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดสตูล ระยะเวลาวิกฤต (Critical Time) คือระยะเวลาเดินทางของคลื่นยักษ์สึนามิน้อยสุดที่คลื่นยักษ์สึนามิจะเดินทางมาถึงชายฝั่งซึ่งเป็นที่ตั้งของแต่ละหน่วยในกองทัพเรือ โดยสามารถคำนวณจากแบบจำลองคณิตศาสตร์ WinITDB (Windows - Based Integrated Tsunami Database) ผลของการวิจัยทำให้ทราบว่าเมื่อเกิดแผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อนในทะเลอันดามันแล้วจะมีพื้นที่ในจังหวัดใดซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยงานในกองทัพเรือจะได้รับผลกระทบบ้างและจะต้องใช้ระยะเวลานานเท่าใดคลื่นยักษ์สึนามิจึงเดินทางถึงพื้นที่ของหน่วยต่างๆ เหล่านั้น ระยะเวลาดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการจัดทำแผนเผชิญเหตุการณ์เพื่อใช้ในการแจ้งเตือนภัย อพยพกำลังพล และการเคลื่อนย้ายอาวุธยุทโธปกรณ์ที่สำคัญไปอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำ หรับเยาวชน, “ความเสียหายที่ประเทศไทยได้รับจากคลื่นยักษ์สึนามิ [อินเทอร์เน็ต].” กรุงเทพฯ, [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2567], เข้าถึงได้จาก: https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=30&chap=8&page=t30-8-infodetail06.html
S. Sukrungsri and, S Pailoplee, “Precursory seismicity changes prior to major earthquakes along the Sumatra-Andaman Subduction zone: a region-timelength algorithm approach.” Earth, Planets and Space, DOI 10.1186/s40623-015-0269-0, (2015).
S. Sukrungsri and S. Pailoplee, "Precursory seismic quiescence along the Sumatra-Andaman Subduction Zone: Past and present.” Journal of seismology, DOI 10.1007/s10950-016-9602, (2016).
P. Charusiri, B.P. Rhodes, P. Saithong, S. Kosuwan, S. Pailoplee, W. Wiwegwin, V. Doarerk, C. Hinthong, and S. Klaipongpan, “Regional tectonic setting and seismicity of Thailand with reference to reservoir construction.” International Conference on Geology of Thailand: Towards Sustainable Development and Sufficiency Economy, (2007).
M. F. Yusdian, R. E. Prasetiyo, A. A. Supriyadi, Y. Prihanto, “Tsunami Disaster Modeling for Non-Military Defense in Pangandaran Regency Using Geographic Information System.” International Journal of Remote Sensing and Earth Sciences, Vol. 20 No. 1, pp. 45–57, (2023).
Wu, T.-R., Huang and H.-C., “Modeling Tsunamis Hazards from the Manila Trench to Taiwan.” Journal of Asian Earth Sciences 36, p.21-28, (2009).
V.K.Gusiakov, D.G.Khidasheli, A.G.Marchuk, S.S.L.Hettiarachchi, A.Karas, T.V.Kalashnikova, WAPMERR Tsunami Research Group, “Analysis of Tsunami Travel Time Maps for Damaging Historical Tsunamis in The World Ocean.”
ภูเวียง ประคำ มินทร์, “คลื่นสึนามิทะเลอันดามัน [อินเทอร์เน็ต].” กรุงเทพฯ, [เข้าถึงเมื่อ 12 พ.ค. 2567], เข้าถึงได้จาก: https://earthquake.tmd.go.th/file_downloads/คลื่นสึนามิ.pdf
ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย, "แผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศ ของประเทศไทย บริเวณที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์ (Tsunami) (อินเทอร์เน็ต)." กรุงเทพฯ, (เข้าถึงเมื่อ 12 พ.ค. 2567), เข้าถึงได้จาก: https://www.gisthai.org/v2/index.php/2015-02-04-07-55-43/2015-02-04-08-47-03/33-gis-remote-sensingtsunami-26-2547-the-application-of-gis-and-remote-sensing-on-assessing-physical-impact-caused-by-tsunami-ondec-26-2004-in-the-coastal-zone-of-thailand
กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ, “ระดับน้ำ ในน่านน้ำ ไทย พ.ศ. 2550.” กรุงเทพฯ: กองสร้างแผนที่ กรมอุทกศาสตร์, (2550).
พิเชษฐ ปั้วเฮงทรัพย์, นาวาเอก, “สมุทรศาสตร์ธรณี.” กรุงเทพฯ: โรงเรียนนายเรือ, (2565).
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, “Webinar: Lessons Learnt during Exercise IOWave.” [เอกสารที่ไม่มีการพิมพ์], (2023).