การใช้ข้อมูลการสำรวจระยะไกล และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการประเมินพื้นที่เสี่ยงไฟป่า ในเขตพื้นที่ป่าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และพื้นที่ใกล้เคียง จังหวัดนครนายก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยเสี่ยงไฟป่า ในเขตพื้นที่ป่าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ซึ่งมีขอบเขตติดกับพื้นที่เขาแหลม - เขาชะพลู เป็นหนึ่งในพื้นที่ป่าไม้ในราชการกระทรวงกลาโหม และเป็นเขตรอยต่อในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปัจจุบันพบปัญหาการเกิดไฟป่ามาอย่างต่อเนื่อง จากการถอดบทเรียนกรณีศึกษาพบว่า ภายในระยะเวลา 8 ปี ได้เกิดไฟป่าขึ้นในปี พ.ศ. 2559, 2563 และ 2566 จึงนำการประยุกต์ใช้ข้อมูลการสำรวจระยะไกล และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-8 (พ.ศ. 2559 - 2566) มาวิเคราะห์ค่าดัชนีผลต่างพืชพรรณ (NDVI) และอุณหภูมิพื้นผิว (LST) ผลการศึกษาพบว่าดัชนีผลต่างพืชพรรณ (NDVI) และอุณหภูมิพื้นผิว (LST) ในปีที่เกิดไฟป่า ค่า NDVI แปรผกผันกับ LST โดยมีค่า R-Squared เท่ากับ 0.3321, 0.4279 และ 0.2301 ตามลำดับ และพบจุดความร้อน (Hotspot) เฉพาะพื้นที่ป่าไม้ ทั้งหมด 388 จุด โดยส่วนใหญ่พบในพื้นที่ ตำบลเขาพระ อำเภอเมือง 122 จุด ซึ่งสอดคล้องกับค่า NDVI ต่ำที่สุดมีค่า 0.07 อยู่ที่ตำบลเขาพระ อำเภอเมือง ภายใต้สมมุติฐานที่ว่าพื้นที่ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้พืชพรรณที่เติบโตในบริเวณนั้นไม่สมบูรณ์เมื่อพื้นที่นั้นแห้งมากขึ้นจึงเสี่ยงต่อการติดไฟมากขึ้น ในส่วนของ LST ที่สูงที่สุดมีค่า 34.24 อยู่ที่ ตำบลพรหมณี อำเภอเมือง สอดคล้องกับจำนวนจุดความร้อนที่เกิดขึ้นในปีเดียวกัน คือ 55 จุด หากอุณภูมิพื้นผิวสูงก็ยิ่งเร่งให้การระเหยของน้ำในดินเร็วขึ้น กล่าวคือพื้นที่ที่เกิดความแห้งแล้งเป็นประจำจะเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะประสบปัญหาไฟป่าได้ในอนาคต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
สุชาติ โภชฌงค์, “การประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยไฟป่าในประเทศไทย,” กลุ่มปฏิบัติการภูมิสารสนเทศส่วนภูมิสารสนเทศ, สำ นักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ, 2553.
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “จำ นวนพื้นที่ป่าในเขตพื้นที่อนุรักษ์ที่ถูกไฟไหม้.” ระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. https://catalog.dnp.go.th/dataset/fire1 (10 มิ.ย. 67).
สันต์ เกตุปราณีต, นิพนธ์ ตั้งธรรม, สุวิทย์ แสงทองพราว, ปรีชา ธรรมานนท์, นริศ ภูมิภาคพันธ์ และ ศิริ อัคคะอัคร, "ไฟป่าและผลกระทบต่อระบบป่าไม้ในประเทศไทย," คณะวนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 2534.
สมชาย โกมลคงอยู่, “คู่มือการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน,” กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ, 2561.
อภินันท์ ปลอดเปลี่ยว, บพิตร มณีรัตน์ และ วันชัย ปานนาคะพิทักษ์, “การประเมินค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากไฟป่า,” กองจัดการป่าไม้, กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ, 2536.
สุรชัย รัตนเสริมพงศ์, “หลักการเบื้องต้นของการสำ รวจข้อมูลระยะไกล,” สำ นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ, 2536.
USGS. “USGS EROS Archive Sentinel-2 Comparison of Sentinel-2 and Landsat.” USGS science for a changing world. https://www.usgs.gov/centers/eros/science/usgs-eros-archive-sentinel-2-comparison-sentinel-2-and-landsat (25 Jan 2023).
Cook, M, Schott, and J. R., "Atmospheric Compensation for a Landsat Land Surface Temperature Product," Landsat Science Team Meeting, 2014.
Keeley and J. E., "Fire intensity, fire severity and burn severity," A brief review and suggested usage, International Journal of Wildland Fire, pp. 116-126, 2009.
แพรวา วิจิตรธนสาร และ อนุเผ่า อบแพทย์, "การพัฒนาแผนที่ความเสี่ยงภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย," การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27, หน้า 13-17, 2565.
ชินปัญญ์ ปลั่งศิริ, “การประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า อุทยานแห่งชาตินาแห้ว จังหวัดเลย,” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรชีวภาพ), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ, 2543.
กัมปนาท ดีอุดมจันทร์ และ อนุสรณ์ รังสิพานิช, “เทคนิคการสำ รวจจากระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า,” สำ นักภูมิสารสนเทศ, สำ นักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กรุงเทพฯ, 2551.
พงศ์เทพ สุวรรณวารี, "ผลกระทบของไฟป่าต่อความสมบูรณ์ของป่าไม้และคุณภาพอากาศในจังหวัดเชียงใหม่," มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2558.
ภัทรา ม่วงเพชร, ชัยวัฒน์ คงสม และ ดุสิต เวชกิจ, "การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และการรับรู้ระยะไกลเพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าในป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ้ฟ้า จังหวัดลำ ปาง," มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560.
ศราวุธ ลักษวุธ และ โสภณวิชญ์ คําพิลัง, "การจำ แนกพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าโดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ภาพเชิงวัตถุ กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติน้ำ ตกตาดโตน ตำ บลนาฝาย อำ เภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ," คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2560.
Suhrabuddin N., Kaan K, “Burn Area Detection and BurnSeverity Assessment Using Sentinel 2 MSI Data. İzmir/Turkey: The Case of Karabağlar District,” Turkish Journal of Geosciences, pp. 72-77, 2020.
อนุเผ่า อบแพทย์, ภูภัส ทองจับ, วันสิริ สุกสีนวล, และ อาทิตยายีบ๊ะ, “การวิเคราะห์ค่าความรุนแรงพื้นที่เผาไหม้จากภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย,” การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ, ครั้งที่ 26, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2564.
Matthew B., “Normalized Burn Ratio (NBR) and Normalized Difference Vegetation Index (NDVI) Study of Vegetation Health and Regrowth Rate Post 2018 Mendocino Complex Fire in Northern California Coastal Mountains.” The University of Arizona. USA, 2022.
Natasya A., Arie Wahyu W, "Mono-temporal and multitemporal approaches for burnt area detection using Sentinel-2 satellite imagery (a case study of Rokan Hilir Regency, Indonesia)," Ecological Informatics, Vol. 69, July 2022.
R. M. Grajeda Rosado, E. Alonso-Guzman, C. J. Esparza Lopez, W. Martinez Molina, H. García, and E. Yedra, "Mapping the LST (Land Surface Temperature) with Satellite Information and Software ArcGis," IOP Conference Series: Materials Science and Engineering, vol. 811, p.012045, 05/14 2020.
Serco Italia SPA, “Burned Area Mapping with Sentinel-2 (SNAP),” Portugal (version 1.2), pp 5-32, 2017.
สมถวิล วิจิตรวรรณา, สถิติความสัมพันธ์: เลือกใช้อย่างไร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2565. หน้า 10-13.