ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการเคมีทั่วไปของนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

Main Article Content

พันโทหญิง ดร.ปวีณา วัดบัว
ร้อยโทหญิง วิลาสินี ปานนิล

บทคัดย่อ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผลักดันให้สถานศึกษาหลายแห่งรวมถึงกองวิชาเคมี ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ต้องปรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้  โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ดังกล่าว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนนายร้อยต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้วิชาปฏิบัติการเคมีทั่วไปที่ปรับปรุงขึ้น และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการเคมีทั่วไปของนักเรียนนายร้อย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรคือ นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 285 นาย และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนนายร้อยมีความพึงพอใจต่อวิชาปฏิบัติการเคมีทั่วไปโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.32) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่อวิชาปฏิบัติการเคมีทั่วไปของนักเรียนนายร้อยกับปัจจัยทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านผู้เรียน ด้านผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อม และด้านการจัดการเรียนรู้ พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง (r = 0.777, 0.799, 0.851 และ 0.899 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยทั้ง 4 ด้าน สามารถร่วมทำนายความพึงพอใจต่อวิชาปฏิบัติการเคมีทั่วไปของนักเรียนนายร้อยได้ร้อยละ 91.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการเคมีทั่วไปของนักเรียนนายร้อยกับปัจจัยทั้ง 4 ด้าน พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (r = 0.517, 0.569, 0.602 และ 0.600 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และปัจจัยทั้ง 4 ด้าน สามารถร่วมทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการเคมีทั่วไปของนักเรียนนายร้อยได้ร้อยละ 41.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบว่า ความพึงพอใจต่อวิชาปฏิบัติการเคมีทั่วไปมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างต่ำกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการเคมีทั่วไปของนักเรียนนายร้อย (r = 0.329) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
[1]
วัดบัว ป. และ ปานนิล ว., “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาปฏิบัติการเคมีทั่วไปของนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า”, Crma. J., ปี 22, ฉบับที่ 1, น. 31–46, ธ.ค. 2024.
บท
บทความวิจัย

References

A. O. Ogunleye, “A Survey of Students Performance in Science Lagos State of Save Science Education Appeal Fund,” Journal of Science Teacher Association of Nigeria Lagos State Branch, pp. 15-20, (2002).

พรนภา อาจสว่าง, “การพัฒนาห้องปฏิบัติการเคมีเสมือน เรื่องสมบัติ ของธาตุและสารประกอบ สำ หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, ”วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (สนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษา), มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ, (2558).

D. Laurillard, Teaching as a Design Science: Building Pedagogical Patterns for Learning and Technology, New York: Routledge, (2012).

กสมวรรณ ดีอยู่เจริญพร, “ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่องสารชีวโมเลกุล ที่มีต่อทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมทหาร จังหวัดนครนายก,” วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, ปีที่ 17, หน้า 140-152, (2562).

P. A. Okebukola, “An Investigation of Some Factors Affecting Student’s Attitudes Toward Laboratory Chemistry,” Journal of Chemical Education, vol. 63, no. 6, pp. 531-532, (1986).

เบญจวรรณ เรืองศรี และคณะ, “การจัดการเรียนการสอนในยุค New Normal Covid-19 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ On Site,” วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, ปีที่ 11, ฉบับที่ 2, กรกฎาคม-ธันวาคม, หน้า 32-39, (2564).

ปฐมสิทธิ์ แสวงวงศ์ และ สุวิน ทองปั้น, “ปรัชญาการศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในความปกติใหม่ (New Normal),” วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, ปีที่ 6, ฉบับที่ 2, พฤษภาคม-สิงหาคม, หน้า 861- 874, (2564).

อุดม คชินทร, “การผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่หลังยุคโรคระบาดโควิด-19,” การประชุมงานครบรอบวันสถาปนาวิทยาลัยบูรณาการศาสตร์ ปีที่ 2, กรุงเทพฯ, 27 สิงหาคม 2564.

กุลิสรา จิตรชญาวณิช, การจัดการเรียนรู้, กรุงเทพฯ: สำ นักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, (2562).

กลัญญู เพชราภรณ์. 2566. “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา,” [ออนไลน์]. https://eledu. ssru.ac.th/kalanyoo_pe/pluginfile.php/66/mod_resource/content. (เข้าถึงเมื่อ: 1 เมษายน 2551).

อาภรณ์ ใจเที่ยง, หลักการสอน, พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, (2553).

ณิรดา เวชญาลักษณ์, หลักการจัดการเรียนรู้, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, (2561).

สุกัลยา ปริญโญกุล, รายงานการวิจัยเรื่องการวิเคราะห์องค์ประกอบการประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา, จันทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ภาคตะวันออก, (2551).

J. Cho and W. Baek, “Identifying Factors Affecting the Quality of Teaching in Basic Science Education: Physics, Biological Science, Mathematics, and Chemistry, ”Sustainability, vol. 11, no. 14, pp. 3958. (2019).

เกษม หมั่นธรรม และคณะ, “ปัจจัยที่กระทบต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี,” วารสารวิจัยรำ ไพพรรณี, ปีที่ 18, ฉบับที่ 1, หน้า 75-84, มกราคม-เมษายน, (2567).

ณวรา สีที และคณะ, “เจตคติต่อการเรียนปฏิบัติการเคมีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย,” วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, ปีที่ 16, หน้า 13-23, (2559).

ปาณิศา อย่างสวย, รายงานการวิจัยเรื่องความพึงพอใจของนักเรียนเตรียมทหารต่อวิธีการสอน แบบทีม (Team Teaching Method) ในส่วนการทดลองวิชาเคมีพื้นฐาน ว 33121 ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2, นครนายก: โรงเรียนเตรียมทหาร, (2562).

R. Likert, New Patterns of Management, New York: McGraw-Hill Book Company, (1961).

พัทธ์วริน อรรคศรีวรโชติ และคณะ, “ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม,” วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, ปีที่ 16, ฉบับที่ 2, กรกฎาคม-ธันวาคม, หน้า 116-132, (2565).

D.E. Hinkle, Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4th ed. New York: Houghton Mifflin, (1998).

S. Seetee, “Thai High School Student’s Perspective on Chemistry and Laboratory Learning,” Proceedings of the International Science Education Symposium, ISES 2012, The Faculty of Education, Khon Kaen University, Khon Kaen, May 25-27, pp. 29, (2012).

ยุภาพร อำ นาจ และคณะ, “ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี,” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ปีที่ 16, ฉบับที่ 2, เมษายน- มิถุนายน, หน้า 150-15, (2565).

อรรถพล ลิวัญ และคณะ, “ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความเป็นนักเคมีของนักศึกษาสาขาเคมีในประเทศไทย,” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, ปีที่ 34, ฉบับที่ 3, กันยายน-ธันวาคม, หน้า 195-211, (2566).

นัฐวุฒิ รอดโฉม และ กรมแพทย์ทหารเรือ, “ปัจจัยทำ นายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจ่าทหารเรือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ โรงเรียนนาวิกเวชกิจ ศูนย์วิทยาการ กรมแพทย์ทหารเรือ,” วารสารวิชาการ โรงเรียนนายเรือด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1, มกราคม-ธันวาคม, หน้า 135-148, (2563).

กชพร ใจอดทน และ อรณิชชา ทศตา, “ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยนครราชสีมา,” วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), ปีที่ 27, ฉบับที่ 2, กรกฎาคม-ธันวาคม, หน้า 29-40, (2564).

ศรีผกา เจริญยศ และคณะ, “การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active learning เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์การเรียนรู้เคมีและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย,” วารสารสุทธิปริทัศน์, ปีที่ 34, ฉบับที่ 109, มกราคม- มีนาคม, หน้า 46-57, (2563).

วราภรณ์ ลวงสวาท และคณะ, “ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1,” วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, ปีที่ 6, ฉบับที่ 1, มกราคม-มิถุนายน, หน้า 236-254, (2561).

อธิพงษ์ ภูเก้าแก้ว, “ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความแตกต่างระหว่างบุคคล,” วิทยานิพนธ์ ค.ม. (วิทยาศาสตรศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม, (2559).

K. Sata and C. Tzougraki, “Attitudes Toward Chemistry Among 11th Grade Student in High School in Greece,” Science Education, vol 88, pp. 535-547, (2004).