การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณโดยใช้โครงงานเป็นฐานในเทคโนโลยี IoT เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะเชิงคำนวณและความเป็นนวัตกรสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีระดับความสามารถต่างกัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบรูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณโดยใช้โครงงานเป็นฐานการพัฒนาเทคโนโลยี IoT เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะเชิงคำนวณและความเป็นนวัตกรสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีระดับความสามารถต่างกัน ศึกษาผลของการใช้โครงงานเป็นฐานฯ และนำเสนอการใช้โครงงานเป็นฐานฯ มีประชากร กลุ่มที่ 1 นักเรียนระดับช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6) กลุ่มที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนฯ กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มที่ 1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชัยบาดาลพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี จำนวน 110 คน กลุ่มที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ผ่านค่าทางสถิติ ANOVA วิเคราะห์แบบประชากรหลายกลุ่ม หาค่าความเที่ยงของร่างรูปแบบ (IOC) พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณโดยใช้โครงงานเป็นฐานฯ ดังนี้ ขั้นที่ 1 การระบุปัญหา ขอบข่าย ประเด็น (Issues) ขั้นที่ 2 การวางแผน กำหนดตัวแปรให้สมบูรณ์ (Plan) ขั้นที่ 3 การลงมือทำ (Do) ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปสิ่งที่เรียนรู้ (Aggregate) ขั้นที่ 5 ขั้นนำเสนอผลงาน (Present) และขั้นที่ 6 ประเมินผล (Evaluate) ผลการวิเคราะห์แบบประเมินความเป็นนวัตกร พบว่า กลุ่มระดับของผู้เรียนที่ต่างกันก่อนเรียน และหลังเรียนไม่มีความแตกต่างกันทั้งระหว่างกลุ่ม และภายในกลุ่ม กล่าวคือ ผู้เรียน กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลางและกลุ่มอ่อน มีพฤติกรรมการสร้างความเป็นนวัตกรกันหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รูปแบบที่นำเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิมีคุณภาพผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (ค่า IOC = 0.91) และเมื่อพิจารณารายการประเมินทุกหัวข้อพบว่า มีค่าความเที่ยง (IOC) อยู่ในระดับยอมรับได้ แสดงให้เห็นว่ารูปแบบด้านความเหมาะสมของเนื้อหาและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีความเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ.2566. กรุงเทพฯ (2566).
Bonwell, Charles C., and James A. Eison Active learning: Creating excitement in the classroom. ERIC Digest. [Online] Available (1991).
Meyers, C. & Jones, T. B. Promoting Active Learning: Strategies for the College Classroom. San Francisco: Jossey-Bass. (1993).
Felder, R. M. and Brent, R., Active Learning: An Introduction. (online) Available: http://www.ncsu.edu /unity/lockers/users/f/felder/public/ Papers/ALpape(ASQ).pdf. Retrieved 2 May 2023 (2009).
Dyer, J., Gregersen, H. B., & Christensen, C. M. The innovator’ s DNA: Mastering The five skills of disruptive innovators. Harvard Business. (2011).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ, คู่มือรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (วิทยาการคำ นวณ) ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2561).
ทิศนา แขมมณี, ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562).
ดุษฎี โยเหลา และคณะ, การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำ เร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: หจก.ทิพยวิสุทธิ์, (2557).
วิจารณ์ พาณิ, วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์. สืบค้นจาก http://www.noppawan.sskru.ac.th, (2555).
อัญชลี ทองเอม. การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. ปีที่ 8(3): หน้า 185-199. (2561).
พิมพลักษณ์ โมรา, การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน: ทางเลือกในการจัดการศึกษาสำ หรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. ปีที่ 8(1): หน้า 42-52, (2561).
วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล และ มาเรียม นิลพันธุ์. การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. ปีที่ 11(2): หน้า 8-23, (2564).
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพรอมศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, (2557).
Ribe, Ramon and Vidal, Nuria. Project Work : Handbooks for the English Classroom: Oxford Heinemann International, (1993).
Fried-Booth, Diana L. Project work. Great Britain: Oxford University Press, (1987).
ประภาพร กุลลิ้มรัตน์ชัย, Internet of Things :แนวโน้มเทคโนโลยีปัจจุบันกับการใช้งานในอนาคต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปีที่ 10(1): หน้า 29-36, (2566).
บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์, เกมบนโปรแกรมเชิงจินตภาพ และแนวคิดเชิงคำนวณอย่างเป็นระบบ. JOURNAL OF INFORMATION SCIENCE AND TECHNOLOGY. ปีที่ 6(2): หน้า 9-16, (2559).
Charoula and Nicos, Developing young children’s computational thinking with educational robotics: An interaction effect between gender and scaffolding strategy, Computer in Human Behavior. University of Cyprus, March 2019, (2019).
สุธิวัชร ศุภลักษณ์, การออกแบบระบบการเรียนรู้บนคลาวด์ตามแนวคิดวิศวกรรมผันกลับร่วมด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อส่งเสริมความคิดเชิงประมวลผลสำ หรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University, ISSN 1906-3431, Volume 11 No.5, July-December, (2018), (2562).
Renske and Sjaak. Problem Solving and Algorithmic Development with Flowcharts. Association for Computing Machinery. Nijmegen, Netherlands. WiPSCE’17, November 8-10, (2017).
Shuchi, Nicholas and Patrik. Concepts before coding: non-programming interactives to advance learning of introductory programming concepts in middle school. Computer Science Education. ISSN: 0899-3408. 06 Feb, (2019).
วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล, และ มาเรียม นิลพันธุ์. การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. ปีที่ 11(2): หน้า 8-23, (2564).
นพดล รุ่งเรืองธนาผล, รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำ นวณโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในสภาพแวดล้อมเสมือนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะเชิงคำ นวณและการสร้างคุณค่าร่วมกันสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีระดับความสามารถต่างกัน. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), (2563).
สุกัญญา แช่มช้อย, การพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนรุ่นใหม่ผู้สร้างนวัตกรและผู้ประกอบการในอนาคต. Journal of Education Naresuan University. ปีที่ 24(1): หน้า 269-282, (2564).