การพัฒนากระบวนการผลิต “ข้าวหอมมะลิกึ่งสำเร็จรูป” เพื่อใช้เป็นเสบียงประจำบุคคล

Main Article Content

พันตรี ดร. ปัญญวุฒิ จันทร์ถนอมสุข
พันเอก มารุต วัชระคุปต์
พันเอกหญิง รองศาสตราจารย์ ดร. จินตนา แสนวงค์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาเสบียงรบประจำบุคคลรูปแบบใหม่ให้แก่กองทัพบก โดยทำออกมาในรูปแบบของข้าวหอมมะลิกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งมีข้อดีคือใช้เวลาในการคืนรูปหรือปรุงเป็นข้าวสวยสั้นกว่าการหุงข้าวสาร บทความนี้กล่าวถึงปัจจัยต่างๆ ในกระบวนการผลิต ที่ส่งผลต่อคุณภาพของข้าวหอมมะลิกึ่งสำเร็จรูป โดยขั้นตอนการผลิตที่สำคัญประกอบด้วย การแช่ข้าวให้ความร้อนขั้นต้น การการทำให้สุกจนเกิดเจล และการทำแห้ง ผลการทดลองพบว่า สภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการผลิต คือแช่ข้าวที่อุณหภูมิ 70 oC เป็นเวลา 15 นาที ในสารละลาย 0.05 w/v โซเดียมฟอสเฟต จากนั้นต้มข้าวให้เดือดเป็นเวลา 5 นาที แล้วนำมาทำแห้งในเครื่องอบลมร้อนที่อุณหภูมิ 75 oC จนได้ข้าวที่มีความชื้นต่ำกว่าร้อยละ 7 ข้าวกึ่งสำเร็จรูปที่ถูกพัฒนาขึ้นจะถูกบรรจุในถุงสุญญากาศปริมาณ 150 กรัมต่อถุง ซึ่งให้พลังงาน 534 kcal ผลการทดสอบประสาทสัมผัสโดย นักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จำนวน 94 นาย พบว่า ความพึงพอใจโดยเฉลี่ยต่อผลิตภัณฑ์ อยู่ในเกณฑ์ “ชอบ” โดยค่าคะแนนไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับข้าวที่หุงสุกด้วยวิธีทั่วไป (p ≤ 0.05) อีกทั้งผลการทดสอบความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในภาคสนาม พบว่านักเรียนนายร้อย ให้คะแนนความเหมาะสมอยู่ในเกณฑ์ “ดี”

Article Details

How to Cite
[1]
จันทร์ถนอมสุข ป., วัชระคุปต์ ม., และ แสนวงค์ จ., “การพัฒนากระบวนการผลิต ‘ข้าวหอมมะลิกึ่งสำเร็จรูป’ เพื่อใช้เป็นเสบียงประจำบุคคล”, Crma. J., ปี 21, ฉบับที่ 1, น. 110–120, ธ.ค. 2023.
บท
บทความวิจัย

References

พรพิไล นิยมเวช, ปฐมพร สรรพสิทธิ์, อติกานต์ วารี และ เพ็ญศิริ คงสิทธิ์, "การพัฒนาสูตรโจ๊กข้าวไรซ์เบอร์รี่กึ่งสำเร็จรูป", วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 23 ฉบับที่ 3, 2561.

กรมพลาธิการทหารบก, “คู่มือราชการสนามว่าด้วยการเลี้ยงดูและประกอบเลี้ยงในสนาม”, 2563.

อโนชา สุขสมบูรณ์ และกุลยา ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์, “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวกึ่งสาเร็จรูปลดดัชนีไกลซีมิก”, รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562

ขวัญใจ เลาหสวัสดิ์ และ วรรณดี บินไชย, “เทคโนโลยีการผลิตข้าวกึ่งสำเร็จรูป”, กองวิทยาศาสตร์ชีวภาพ, กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2540.

ศิวาพร ศิวเวช และอุดม กาญจนปกรณ์ชัย, “การศึกษาการปรับปรุงคุณภาพข้าวกึ่งสำเร็จรูป”, http://fic.nfi.or.th/knowlegdedatabank Research-detail.php-756

สุธยา พิมพ์พิไล, “การศึกษากรรมวิธีการผลิตข้าวหอมมะลิแดงแบบหุงสุกเร็ว”, รายงานการวิจัย, คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2549.

Songserppong and Phukasmas, “Instant Rice Process Development: Effect of Rice Cooking Methods on the Quality of Jasmine Instant Rice Dried by Industrial Microwave Oven”, Journal of Microbiology, Biotechnology and Food Sciences, vol. 9(2), pp. 330-334, 2019.

กฤติยา เขื่อนเพชร, รวิพร พลพืช, กนกพร ลีวาณิชยกูล และศิริยา กาวีเขียว, “ผลของชนิดข้าวและวิธีการทำแห้งต่อคุณภาพของโจ๊กข้าวไรซ์เบอร์รี่กึ่งสำเร็จรูปผสมแก่นตะวัน”, Thai Science and Technology Journal (TSTJ), vol.28(10), 2562.

McAdam J., McGinnis K., Ory R., Young K., Frugé A., Roberts M., and Sefton J, “Estimation of energy balance and training volume during Army Initial Entry Training”, Journal of International Society of Sports and Nutrition, vol. 15(55), 2018.

กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก, หนังสือราชการเรื่องขอปรับปรุงและพัฒนาแนวทางการประกอบเลี้ยงแก่ทหารกองประจำการ ที่ กห.0404/3970 ลง 30 พ.ย. 64