การพัฒนากระบวนการทำกลีเซอรีนบริสุทธิ์จากผลพลอยได้ของการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันใช้แล้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องมีการมองหาแหล่งพลังงานทางเลือกเข้ามาทดแทนพลังงานหลักที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไบโอดีเซลเป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจในอนาคต งานวิจัยนี้จึงมีความสนใจในการสกัดแยกกลีเซอรีนจากกลีเซอรีนดิบ ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันใช้แล้ว เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและช่วยลดต้นทุนการผลิตไบโอดีเซล โดยใช้กรดซัลฟิวริก 8 M และกรดฟอสฟอริก 8 M ร้อยละอัตราส่วนกรดต่อน้ำหนักของกลีเซอรีนดิบที่ 6, 8, 10, 12, 14, 16, 18 และ 20 ในการสกัดแยกกลีเซอรีนจากกลีเซอรีนดิบ ผลการวิจัยพบว่าชั้นกลีเซอรีนจะแยกตัวได้เร็วและได้กลีเซอรีนปริมาณมาก เมื่อค่า pH ของสารละลายกลีเซอรีนมีค่าใกล้เคียง 2 กรดซัลฟิวริกมีค่าอัตราส่วนกรดโดยน้ำหนักของกลีเซอรีนดิบร้อยละ 10 สามารถผลิตกลีเซอรีนได้มากที่สุดและมีค่าร้อยละความบริสุทธิ์เท่ากับ 89.7±0.01 และกรดฟอสฟอริกมีค่าอัตราส่วนกรดโดยน้ำหนักของกลีเซอรีนดิบร้อยละ 16 สามารถผลิตกลีเซอรีนได้มากที่สุดและมีค่าร้อยละความบริสุทธิ์เท่ากับ 87.7±0.01 ทั้งนี้กระบวนการสกัดแยกกลีเซอรีนให้บริสุทธิ์โดยใช้กรดซัลฟิวริก 8 M สามารถเพิ่มค่าความบริสุทธิ์ของกลีเซอรีนจากร้อยละ 40.2±0.02 เป็นร้อยละ 89.7±0.01 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 49.5±0.01 และกระบวนการสกัดแยกกลีเซอรีนให้บริสุทธิ์โดยใช้กรดฟอสฟอริก 8 M สามารถเพิ่มค่าความบริสุทธิ์ของกลีเซอรีนจากร้อยละ 40.2±0.02 เป็นร้อยละ 87.7±0.01 เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.5±0.01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
B. Giuseppe et al., “Glycerol production and transformation: A critical review with particular emphasis on glycerol reforming reaction for producing hydrogen in conventional and membrane reactors", Membrane, vol.7(2) pp.1-31, 2017.
K. Colombo et al., “Production of biodiesel from soybean oil and methanol, catalyzed by calcium oxide in a recycle reactor”, South African Journal of Chemical Engineering, vol. 28, pp. 19-25, 2019.
D.P. Fernando, M.D. Anabela, and A.A.C. Barros, “Purification of residual glycerol recovered from biodiesel production”, South African Journal of Chemical Engineering, vol. 29, pp. 42-51, 2019.
บุญญภรณ์ วาณิชยชาติ, “พลังงานทดแทนและความมั่นคงของประเทศ”, วารสารเทคโนโลยีป้องกันประเทศ, ฉบับที่ 18, หน้า 30-35, 2558.
S.M. Oluwasegus et al., “Review of different purification techniques for crude glycerol from biodiesel production”, Journal of Energy Research and Reviews, vol. 2(1), pp.1-6, 2018.
เกรียงไกร อัศวมาศบันลือ และวรรณภรณ์ บรรจง, “การศึกษาการกลั่นเมทานอลจากกลีเซอรอลดิบซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ร่วมจากการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล”, วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, หน้า 44-49, ปีที่ 3(1), 2553.
E. Anzar et al, “Purification of crude glycerol from biodiesel by-product by adsorption using bentonite”, Indonesian Journal of Fundamental and Applied Chemistry, vol. 3(3), pp. 83-88, 2018.
W.N.R.W. Isahak et al., “Recovery and purification of crude glycerol from vegetable oil transesterification”, Separation & Purification Reviews, vol.44(3), pp.250-267, 2014.
สุพะไชย์ จินดาวุฒิกล และคณะ, “การทำกลีเซอรอลดิบให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟี", วารสารผลงานวิชาการกรมวิทยาศาสตร์บริการ ปีที่ 4(4), หน้า 81-88, 2558.
สายฝน อ่อนทอง, “การศึกษามูลค่าเพิ่มของกลีเซอรอลดิบที่ได้จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล”, ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.
สุจิตรา พรหมเชื้อ, วิชณีย์ ออมทรัพย์สิน, เพ็ญศิริ จำรัจฉาย และวัชรี ศรีรักษา, “การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกลีเซอรอลบริสุทธิ์”, สุราษฎร์ธานี : ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน สุราษฎร์ธานี, 2549.
M.R. Nanda, Z. Yuan, W. Qin, M.A. Poirier and X. Chunbao, “Purification of crude glycerol using acidification: Effects of acid types and product characterization”, Austin Chemical Engineering, vol. 1(1), pp.1004-1010, 2014.
นพวรรณ ชนัญพานิช, วัฒนา ปิ่นเสม และบุญมี บุญยผลานันท์, “การทำกลีเซอรีนจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลให้บริสุทธิ์”, วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปีที่ 19(1), หน้า 66-72, 2552.
สุจิตรา พรหมเชื้อ, วิชณีย์ ออมทรัพย์สิน, เพ็ญศิริ จำรัจฉาย และ วัชรี ศรีรักษา, “การศึกษาการผลิตกลีเซอรีนบริสุทธิ์โดยวิธีการกลั่น”, รายงานผลงานวิจัยและพัฒนาด้านพืชและเทคโนโลยีการเกษตร หน้า 239-240, 2551.