การประยุกต์หลักการถ่ายโอนพลังงานความร้อนสำหรับการประเมิน ความเข้มของเกาะความร้อนเมือง (Application of Heat Transfer for Evaluated Urban Heat Island Intensity)

Main Article Content

Authors :อติรัฐ มากสุวรรณ์ (Atirat Maksuwan)

Abstract

               จุดประสงค์ของงานวิจัยคือการประยุกต์หลักการถ่ายโอนพลังงานความร้อนเพื่อสร้างแบบจำลองของสภาวะเกาะความร้อนเมืองสำหรับการประเมินค่าความเข้มของเกาะความร้อน โดยวิธีดำเนินการวิจัยนี้ใช้หลักพื้นฐานทางฟิสิกส์เกี่ยวกับการถ่ายโอนพลังงานความร้อนทั้ง 3 รูปแบบคือ การนำความร้อน การพาความร้อน และการแผ่รังสีความร้อน  ของท่อทรงกระบอกเมื่อภายในมีของไหลอุณหภูมิสูง เคลื่อนที่จากปลายข้างหนึ่งไปสู่ปลายอีกข้างหนึ่ง ภายใต้เงื่อนไขการควบแน่นหรือการระเหยของของไหลที่เกิดขึ้นภายในท่อทรงกระบอกนั้นมีค่าคงที่ ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองที่ได้จากการประยุกต์หลักการถ่ายโอนพลังงานความร้อนนี้ ทำให้ได้วิธีการประเมินค่าความเข้มของเกาะความร้อนแบบใหม่ซึ่งแตกต่างจากวิธีที่ใช้กันโดยทั่วไป โดยพบว่าปัจจัยเกี่ยวกับการพาความร้อน และการแผ่รังสีความร้อนมีผลต่อความแตกต่างของการประเมินค่าความเข้มของเกาะความร้อน เพื่อแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของแบบจำลองของสภาวะเกาะความร้อนเมืองที่ได้จากการวิจัยนี้ จึงได้มีการนำวิธีการประเมินค่าความเข้มของเกาะความร้อนแบบใหม่นี้ไปทดสอบกับข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวกับการประเมินความเข้มของเกาะความร้อนในเมืองเชียงใหม่ ปรากฏว่าวิธีการประเมินค่าความเข้มของเกาะความร้อนแบบใหม่นี้สอดคล้องกับผลการวิจัยการประเมินความเข้มของเกาะความร้อนโดยวิธีที่ใช้กันโดยทั่วไปเป็นอย่างดี  


 


              The purpose of this research was application of the heat transfer to generate urban heat island (UHI) model for evaluated urban heat island intensity (UHII). The methodology of this research was combination heat transfer via conduction, convection and radiation in a cylindrical tube through which a given thermal fluid is transported from one end to the other. Thermal fluid is assumed that condensation or evaporation takes place inside the cylindrical tube such that the bulk fluid temperature inside the tube remains constant. The purpose of this methodology was to generate model of UHI area for evaluated UHII. According to the result was found that model of UHI area from application of the heat transfer lead to new methodology, which different from general methodology for evaluated UHII. The new methodology was found that the convection and radiation parameters significantly affected the formation of differential and integral characteristics of evaluation on UHII. To illustrate the effectiveness of the application, this research investigated the situation involving the UHI on the evaluation of UHII in Chiang Mai City was investigated. According to the situation was found that new methodology consistency with general methodology for evaluated UHII well.        

Article Details

Section
บทความ : Science and Technology