ระบบบริหารการจัดทำข้อสอบของสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Main Article Content

ธีระเดช ธนะภวา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาระบบบริหารการจัดทำข้อสอบของสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ (2) เพิ่มประสิทธิภาพในการสนับสนุนการจัดการข้อมูลการทำชุดข้อสอบและการบรรจุซองข้อสอบ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์ม ตามแนวทางวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC) ระบบเว็บแอปพลิเคชันถูกพัฒนาด้วยภาษา PHP และใช้ MySQL เป็นระบบจัดการฐานข้อมูล เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการข้อมูลหน้าซองข้อสอบที่เดิมใช้การเขียนด้วยมือ ซึ่งเสี่ยงต่อความผิดพลาด ข้อมูลไม่ครบถ้วน และมีความแตกต่างของรูปแบบการเขียน ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถจัดการข้อมูลตารางสอบ สร้างเอกสารหน้าซองข้อสอบโดยอัตโนมัติ รองรับการพิมพ์บนซองข้อสอบ และแสดงรายงานสถานะการดำเนินงานแบบเรียลไทม์ อีกทั้งยังมีระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติผ่าน Line Application และอีเมล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารและการดำเนินงาน ผลการวิจัยพบว่าระบบการจัดการข้อมูลที่พัฒนาขึ้นสามารถรองรับการใช้งานที่แตกต่างกันของ 4 กลุ่มผู้ใช้งาน ได้แก่ กลุ่มผู้ดูแลระบบ กลุ่มเจ้าหน้าที่และกรรมการจัดสอบ กลุ่มอาจารย์เจ้าของรายวิชา และกลุ่มบุคลากรสาขาวิชา โดยแต่ละกลุ่มมีสิทธิ์การเข้าถึงที่จำเพาะเพื่อความปลอดภัย ระบบช่วยลดข้อผิดพลาด ลดความซับซ้อน และเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลตามสิทธิ์ของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ ผู้ใช้งานระบบโดยรวมแสดงความพึงพอใจในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.73 คิดเป็นร้อยละ 94.60  S.D. 0.46) ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาระบบในอนาคต ได้แก่ การเพิ่มฟังก์ชันติดตามสถานะและตำแหน่งของซองข้อสอบ การแจ้งเตือนเกี่ยวกับกำหนดการส่งต้นฉบับข้อสอบช้า การตรวจสอบชุดข้อสอบก่อนบรรจุซอง และการเชื่อมโยงข้อมูลการจัดการซองข้อสอบร่วมกับหน่วยงานอื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวม

Article Details

How to Cite
ธนะภวา ธ. (2025). ระบบบริหารการจัดทำข้อสอบของสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 53(1), 48–66. https://doi.org/10.14456/kkuscij.2025.4
บท
บทความวิจัย

References

ชัยพร คำเจริญคุณ. (2563). การพัฒนาระบบ LINE BOT NU Library เพื่อการให้บริการร่วมกับระบบ ห้องสมุดอัตโนมัติ KMUTT-LM. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 10 Library Transformation in a Disrupted World. มหาวิทยาลัยทักษิณ. 39 - 49

ณภัทร ไชยพราหมณ์, ณัฐวุฒิ ทุมนัต และชูพันธุ์ รัตนโภคา. (2563). ระบบตอบกลับและแจ้งข้อมูลทางการศึกษาผ่าน

ไลน์บอท. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ 10(2): 59 - 70.

ณิชนันทน์ กะวิวังสกุล, ไหมคำ ตันติปทุม และอัครเดช จิรพรศิรพัชร. (2566). ระบบจัดการฐานข้อมูลงานวิจัยนักศึกษา

ในระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี 4(2): 1 - 14.

ธานินทร์ อินทรวิเศษ, ธนวัตน์ พูลเขตนคร, ธนวัตน์ เจริญษา, นิตยา นาคอินทร์, Augustine Agbi และภาสกร เรืองรอง. (2562). เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ 12(6): 478 - 494.

นนิดา สร้อยดอกสน, ณัฐพร สวัสดิ์นาวิน และปิยนุช ขันติศุข (2557). การพัฒนาระบบลางานออนไลน์. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร 8(2): 115 - 126.

พงษ์ศักดิ์ ดรพินิจ และจตุรงค์ จิตติยพล. (2565). การพัฒนาระบบจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มโรงเรียนชำสูง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ 2(4): 447 - 462.

วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ, จิระศักดิ์ ธาระจักร์ และปาโมกข์ รัตนตรัยาภิบาล. (2561). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การพัฒนาระบบสารสนเทศในการจัดการทรัพยากรและฐานข้อมูล. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ

สิทธิชัย วรโชติกำจร และพัชราภรณ์ วรโชติกำจร. (2566). การให้บริการข้อมูลทางการศึกษา ด้วยระบบไลน์แชตบอท ผ่านกลไกการติดต่อระหว่าง REST API และ LINE Messaging API. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 11(2): 142 – 149.

Best, J.W. and Kahn, J.V. (1993). Research in Education (7th ed). Boston: Allyn and Bacon.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Martin (Ed.) New York: Wiley & Son.