การพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Main Article Content

มงคล กันทะป้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2) ประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งานระบบ การพัฒนาระบบได้ดำเนินการตามวงจรการพัฒนาระบบ 5 ขั้นตอน โดยใช้ภาษา PHP ในการพัฒนาระบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นการเลือกแบบเจาะจงจากผู้ใช้งานระบบทั้งหมด คือ ผู้ใช้งาน รับ - ส่ง หนังสือ จำนวน 19 คน และผู้ใช้งานเกษียนหนังสือ จำนวน 7 คน ผลการวิจัยพบว่า ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยอำนวยความสะดวกในการ รับ – ส่ง หนังสือ ค้นหาหนังสือ และยังช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริหารสามารถเกษียนหนังสือได้ทุกที่ทุกเวลา อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณการใช้งานกระดาษและหมึกพิมพ์ได้เป็นจำนวนมาก โดยผู้ใช้งาน รับ - ส่ง หนังสือ มีความพึงพอใจในการใช้งานระบบอยู่ในระดับมากที่สุด (equation = 4.82) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในทุกๆ ด้านทั้งด้านการออกแบบ ด้านการใช้งานรับหนังสือ ด้านการใช้งานส่งหนังสือ ด้านการใช้งานค้นหาหนังสือ และด้านคู่มือการใช้งานระบบ ในส่วนของผู้ใช้งานเกษียนหนังสือมีความพึงพอใจในการใช้งานระบบอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน (equation = 4.77) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านการออกแบบ ด้านการใช้งานเกษียนหนังสือ และด้านคู่มือการใช้งาน

Article Details

How to Cite
กันทะป้อ ม. (2025). การพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 53(1), 30–47. https://doi.org/10.14456/kkuscij.2025.3
บท
บทความวิจัย

References

เกวลี เฉิดดิลก. (2563). การพัฒนาระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์สําหรับงานสารบรรณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง

และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง. 2(3): 53-66.

คนึงศรี นิลดี และธนดล ภูสีฤทธิ์. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศงานสารบรรณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 12(1): 292-307.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. 82.

ปริวัฒน์ จันทร์ทรง, ณัฐวุฒิ คล้ายขํา และนิตต์อลิน ภูริชอุดมอังกูร. (2564). การวิเคราะห์เวลาที่ใช้ในการเกษียนหนังสือสั่งการผ่าน

ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์กรณีตัวอย่างหนังสือราชการภายใต้ส่วนงานวิจัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์. 5(2): 126-142.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2564. (2564, 25 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138

ตอนพิเศษ 113 ง. หน้า 1-7.

อมรรัตน์ จันทร์ยิด. (2561). ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ทหาร. สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจ

บัณฑิตย์. กรุงเทพฯ.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2566). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. 46-392.