การศึกษาคาริโอไทป์ของตั๊กแตนหนวดสั้นบางชนิดด้วยวิธีการย้อมสีแบบธรรมดา

Main Article Content

กฤษณ์ พิเนตรเสถียร
ณัฐพร จิรวัฒนาสมกุล
ณิชานันท์ กุตระแสง
ชญานิน นิวงษา
ไพลิน แก้วนิวงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาคาริโอไทป์ตั๊กแตนหนวดสั้น (short-horned grasshopper) จำนวน 3 ชนิด ในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ทำการเตรียมโครโมโซมจากลำไส้ ด้วยวิธีการตรงโดยการฉีดสารโคลชิซีนเข้าสู่ช่องท้อง จากนั้นทำการย้อมสีโครโมโซมแบบธรรมดาด้วยสีจิมซ่าความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษาพบว่าตั๊กแตนมีจำนวนโครโมโซมดิพลอยด์ (2n) และสูตรคาริโอไทป์ดังนี้ ตั๊กแตนปาทังก้า (Patanga succincta) เพศผู้ 2n (23) = L10t + M 2t+ S10t + (X0) และเพศเมีย 2n (24) = L8t + M4t + S10t + (XX) จำนวนโครโมโซมตั๊กแตนฝ้าย (Cyrtacanthacris tatarica) เพศผู้ 2n (23) = L8t + M6t + S8t + (X0) และเพศเมีย 2n (24) = L10t + M4t + S8t + (XX) และจำนวนโครโมโซมตั๊กแตนคอแหวน (Hieroglyphus banian) เพศผู้ 2n (23) = L8t + M8t +S6t + (XO) และเพศเมีย 2n (24) = L8t+ S14t + (XX) สรุปผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าตั๊กแตนหนวดสั้นเพศผู้ทุกชนิดมีโครโมโซมดิพลอยด์ (2n) เท่ากับ 23 แท่ง จำนวนโครโมโซมพื้นฐานเท่ากับ 23 ประกอบด้วยโครโมโซมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ส่วนตั๊กแตนหนวดสั้นเพศเมียทุกชนิดมีโครโมโซมดิพลอยด์ (2n) เท่ากับ 24 แท่ง จำนวนโครโมโชมพื้นฐานเท่ากับ 24 ประกอบด้วยโครโมโซมชนิดขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก สามารถแยกโครโมโซมเพศระหว่างตั๊กแตนเพศผู้และเพศเมียได้ สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้เปรียบเทียบกับตั๊กแตนสายพันธุ์อื่น ๆ ที่พบในพื้นที่

Article Details

How to Cite
พิเนตรเสถียร ก., จิรวัฒนาสมกุล ณ. ., กุตระแสง ณ. ., นิวงษา ช. ., & แก้วนิวงศ์ ไ. . (2025). การศึกษาคาริโอไทป์ของตั๊กแตนหนวดสั้นบางชนิดด้วยวิธีการย้อมสีแบบธรรมดา. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 53(1), 67–80. https://doi.org/10.14456/kkuscij.2025.5
บท
บทความวิจัย

References

กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย. (2567). ชนิดของตั๊กแตน. กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร. แหล่งข้อมูล: http://www. esc.doae.go.th/ชนิดของตั๊กแตน. ค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567.

กันยารัตน์ ไชยสุต. (2532). เซลล์พันธุศาสตร์และเซลล์อนุกรมวิธานของพืชสกุล Zephyranthes. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โกศล เจริญสม. (2525). แมลงอ้อย, ตั้กแตนปาทังก้า. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 6 – 7.

จารุวัตถ์ แต้กุล, จีระศักดิ์ กอคูณกลาง, ยุวรินทร์ บุญทบ, สุนัดดา เชาวลิต, ชมัยพร บัวมาศ, อิทธิพล บรรณาการ, เกศสุดา สนศิริ, อาทิตย์ รักกสิกร, จอมสุรางค์ ดวงธิสาร และสิทธิศิโรดม แก้วสวัสดิ์. (2565). อนุกรมวิธานและความหลากชนิดของตั๊กแตนหนวดสั้น (Orthoptera) ในพื้นที่ปลูกอ้อยของประเทศไทย. วารสารกีฏวิทยาและสัตววิทยา 40(1): 17 - 49.

บังอร กองอิ้ม. (2544). ไมโตติกคาริโอไทป์ของตั๊กแตนหนวดสั้นบางชนิดในจังหวัดขอนแก่นและสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฝ่ายวิจัยและข้อมูลสถาบันอาหาร. (2564). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง การศึกษาตลาดผลิตภัณฑ์อาหารจากแมลงเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันอาหารกระทรวงอุตสาหกรรม.

วิสุทธิ์ ใบไม้. (2538). สถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม.

สุมาลี พิมพันธุ์ และวิวรรธน์ แสงภักดี. (2561). คาริโอไทป์ของตั๊กแตนปีกสั้น. วารสารวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 15(2): 34 - 40.

อมรา คัมภิรานนท์. (2546). พันธุศาสตร์ของเซลล์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาพันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อลงกลด แทนออมทอง, กฤษณ์ ปิ่นทอง และอิสสระ ปะทะวัง. (2562). พันธุศาสตร์ระดับเซลล์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 455 - 459.

Buleu, O.G., Jetybayev, I.Y. and Bugrov, A.G. (2017). Comparative analysis of chromosomal localization of ribosomal and telomeric DNA markers in three species of Pyrgomorphidae grasshoppers. Comparative Cytogenetics 11(4): 601.

Food and Agriculture Organization of the United Nations. (2013). Edible insects: Future prospects for

food and feed security. Source: http://www.fao.org/docrep/018/13253e/i3253e.pdf. Retrieved 21 September 2023.

Fox, D.P., Carter, K.C., and Hewitt, G.M. (1973). Giemsa banding and chiasma distribution in the desert locust. Heredity 31(2): 272 - 276.

Grzimek, B., Kleiman, D.G., Geist, V. and McDade, M.C. (2004). Grzimek's Animal Life Encyclopedia. Detroit: Thomson-Gale.

Hutacharern, C., Nopachon, T. and Chutima, D. (2007). Checklists of Insects and Mites in Thailand. Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation Minisrty of Natural Resources and environment 77 - 80.

John, B. and Naylor, B. (1961). Anomalous chromosome behaviour in the germ line of Schistocerca gregaria. Heredity 1(16): 187 – 198.

Katel, S., Mandal, H.R., Neupane, P., Timsina, S., Pokhrel, P., Katuwal, A., Subedi, S., Shrestha, J. and Shah, K.K. (2021). Desert locust (Schistocerca gregaria Forskal) and its management: A review. Journal of Agriculture and Applied Biology 2(1): 61 – 69. doi: 10.11594/jaab.02.01.08

Koli, J.Y., Gaikwad, M.S., Bharmal, L.D., and Bhawane, P.G. (2013). Karyotypic Studies of Six Species of Grasshopper (Orthoptera: Acrididae) from Kolhapur District, Maharashtra, India. Cytologia 78(3):

- 260. doi: 10.1508/cytologia.78.255.

Ma, E.B. and Zheng, Z.M. (1989). Comparisons of karyotypes and chromosome C - banding patterns in five species of Oxya. Acta Entomologica Sinica 32(4): 399 - 405.

Ma, E.B., Guo, Y.P. and Zheng, Z.M. (1994). Cytotaxonomic study of Oxya species in China (Orthoptera: Acridoidea). Insect Science 1(2): 101 - 109.

Phimphan, S., Sangpakdee, W., Sangpakdee, K. and Tanomtong, A. (2016). Chromosomal analysis and meiosis studies of Oxya chinensis (Orthoptera: Acrididae) from Thailand. The Nucleus 60(1): 9 - 15.

Qing, L., Xiaohong, O. and Hongjie, G. (2012). C-banding karyotypes of two Caryanda (Orthoptera: Catantopidae) species with short wings from China. Entomological News 122(1): 1 - 9.

Rowell, H. and Flook, P. (2001). Caelifera. Shorthorned grasshoppers, locusts and relatives. The Tree of Life Web Project. Retrieved 21 September 2023.

Vilardi, J.C. (1984). Chromosome polymorphisms and chiasma frequency in two populations of Staurorhectus longicornis (Orthoptera-Acrididae). Cytologia 49(3): 513 - 528.

Yoshimura, A., Obara, Y., Ando, Y., and Kayano, H. (2005). Comparative karyotype analysis of grasshoppers in the genus Oxya (Orthoptera, Catantopidae) by differential staining techniques. Cytologia 70(1): 109 - 117.