การออกแบบและพัฒนาเกมจังหวะสังหารโดยใช้เซนเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือน
Main Article Content
บทคัดย่อ
เกมเป็นสื่อบันเทิงที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การกำหนดวิธีการในการโต้ตอบกับวัตถุ และตัวละครภายในเกม เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เกมมีความสนุก ท้าทายมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการนำอุปกรณ์ต่างๆ มาใช้ในการควบคุมการเล่นเกมหลายชนิด เช่น ชุดพวงมาลัย และแป้นเหยียบ สำหรับเกมการแข่งรถ หรือห่วงวงแหวน ที่ช่วยให้การออกกำลังกายไม่น่าเบื่อ เป็นต้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้มีแนวคิดในออกแบบและพัฒนาเกม 2 มิติ ประเภทการต่อสู้ ประยุกต์เข้ากับเกมตีกลองตามจังหวะ โดยใช้กลองที่ติดตั้งเซนเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือนแบบเปียโซ (Piezo sensor) เป็นอุปกรณ์ในการควบคุมการเล่นเกม ซึ่งผู้เล่นจะต่อสู้กับเหล่ามอนสเตอร์ใน 4 เมือง ที่มีรูปแบบการโจมตีที่ต่างกัน ผ่านการตีกลอง ให้ตรงกับลูกบอลสีต่างๆ ตามรูปแบบที่กำหนด และในทุกครั้งที่กลับเข้ามาเล่นใหม่ จะพบกับเส้นทาง และมอนสตอร์ ที่ไม่ซ้ำรูปแบบเดิมอีกด้วย ทั้งนี้จากผลการทดสอบความพึงพอใจในการใช้งานจากกลุ่มเป้าหมายที่ชื่่นชอบการเล่นเกม จำนวน 20 คน ในช่วงอายุ 18 - 20 ปี โดยมีเพศชาย 10 คน เพศหญิง 10 คน พบว่ามีความพึงพอใจในระดับดีมาก โดยมีค่า 𝑥̅ = 4.37 คะแนน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตติ์ธเนศ เพชรไวกูณฐ์. (2558). Game Design Theory ออกแบบเกมให้โดนใจ. กรุงเทพฯ: คอร์ฟังก์ชั่น. 11 – 16
เจนจิรา หวังหลี. (2556). กลไกสำหรับความปลอดภัยของเอกสาร WSDL ในเว็บเซอร์วิส. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา. 81.
พงศกร บำรุงไทย, วรนุช ปลีหจินดา, และรุ้งเพชร สงวนพงษ์. (2561). เกมจำลองกิจกรรมการหยิบลูกบอลลงกล่องเพื่อการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของแขนและมือโดยใช้กล้องตรวจรู้ความลึก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 20(2): 163 - 173.
วรรณพร ทีเก่ง, กรัญญา สิทธิสงวน และพรคิด อั้นขาว. (2562). การประเมินประสิทธิภาพของการฝึกทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็กโดยใช้ส่วนเชื่อมต่อประสานแบบจับต้องได้ผ่านเกมคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กพิการผู้มีความบอกพร่องทางสติปัญญา. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 12(3): 433 - 446.
วรินทร์พิพัชร วัชรพงษ์เกษม. (2564). หลักการและวิธีคำนวณการสุ่มกาชาในเกม. แหล่งข้อมูล: http://blog.bru.ac.th/2021/05/07/หลักการและวิธีคำนวณการสุ่มกาชาในเกม. ค้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566.
Adams, E. (2010). Fundamental of Game Design. 2nd edition. Indianapolis: New Riders Pub. 35 – 44.
Alexandre, R. and Postolache, O. (2018). Wearable and IoT Technologies Application for Physical Rehabili-tation. In: 2018 International Symposium in Sensing and Instrumentation in IoT Era (ISSI). IEEE.
Boxall, J. (2013). Arduino Uno, Arduino Workshop: A Hands-on Introduction With 65 Projects. San Francisco: No Starch Press. pp. 219.
Chen, C. and Fang, Z. (2023). GACHA GAME MODEL OVERVIEW, Gacha Game Analysis and Design. Proceedings of the ACM on Measurement and Analysis of Computing Systems. 5 - 7.
Gamma, E., Helm, R., Johnson, R. and Vlissides, J. (2009). Singleton, Design Patterns. In: Booch, G. Design Patterns: Elements of Reusable Object-Oriented Software. Addison-Wesley Professional 127 - 133.
Giannaraki, M., Moumoutzis, N., Kourkoutas, E. and Mania, K. (2020). ADDventurous Rhythmical Planet: A 3D Rhythm-Based Serious Game for Social Skills Development of Children with ADHD. Internet of Things, Infrastructures and Mobile Applications, Proceedings of the 13th IMCL Conference. Springer. 582 - 593.
Hung, C.W., Ko, C.L. and Chou, W.H. (2023). Interactive Beating Drum Unity Game. In: Proceedings of International Conference on Artificial Life and Robotics, Oita, Japan. 103 - 106.
Knowled. (2014). กล้อง Kinect โชว์เหนือ ตรวจจับการเคลื่อนไหวของนิ้วมือได้. Source: https://www.techhub.in.th/kinect-handpose-fully-hand-tracking/. Retrieved from 22 September 2023.
Korhonen, K. (2019). Player preferences, Serialising and Saving Data in Unity3D Using Google Firebase. Bachelor’s Thesis, Information Technology, Oulu University of Applied Sciences. Oulu. 14 - 17.
Mohamed, H. and Jaafar, A. (2010). Challenges in the evaluation of educational computer games. In: Information Technology (ITSim), 2010 International Symposium. IEEE. 1: 1 – 6.
Nintendo. (2019). Ring Fit Adventure Nintendo Switch. Source: https://www.nintendo.com/th/switch/al3p. Retrieved from 22 September 2023.
Nguyen, T.T. (2021). Basic Unity, INTRODUCTION TO 2D GAME DEVELOPMENT WITH UNITY. Bachelor’s thesis, South-Eastern Finland University of Applied Sciences. Kouvola. 17 - 19.
Peters, J. (2013). Piezoelectric effect, An Introduction to Piezoelectric Materials and Applications. Apeldoorn: Stichting Applied Piezo. 3 - 5.
Procci, K., Chao, A., Bohnsack, J., Olsen, T. and Bowers, C. (2012). Usability in Serious Games: A Model for Small Development Teams. Computer Technology and Application 3: 315 - 329.