การศึกษาผลของเชื้อเห็ดตับเต่า (Phlebopus portentosus) ต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตของกล้าประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus Kurz.)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของเชื้อเห็ดตับเต่า (Phlebopus portentosus) ต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตของกล้าประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus Kurz.) โดยใช้ปริมาตรหัวเชื้อเห็ดตับเต่าแตกต่างกัน วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) 7 ชุดการทดลอง ได้แก่ ชุดควบคุม (ไม่ปลูกเชื้อ) ชุดทดลองที่ปลูกเชื้อเห็ดที่ปริมาตร 10 20 และ 30 มิลลิลิตร (มวลชีวภาพของเส้นใยเห็ด 0.3 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร) จำนวน 1 และ 2 ครั้ง โดยปลูกเชื้อเห็ดตับเต่าห่างกัน 15 วัน ทดสอบกับกล้าอายุ 4 เดือน บันทึกผลการเติบโตทุก 30 วัน จนอายุครบ 180 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติ พบว่าการปลูกเชื้อปริมาตร 20 มิลลิลิตร จำนวน 2 ครั้ง ให้ผลดีที่สุด โดยเมื่อวัดปริมาณคลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์บี และคลอโรฟิลล์รวม ด้วยสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ มีค่าเฉลี่ย 2.41 ± 0.31 1.20 ± 0.86 และ 3.61 ± 0.55 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ เมื่อเทียบกับชุดควบคุม ปริมาณคลอโรฟิลล์เอและคลอโรฟิลล์รวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 167.78 และ 67.91 ซึ่งแตกต่างกับชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ 0.05) เมื่อวัดความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับคอราก ทรงพุ่ม และมวลชีวภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 54.59 ± 8.83 เซนติเมตร 8.05 ± 1.02 มิลลิเมตร 36.35 ± 2.14 เซนติเมตร และ 16.03 ± 2.42 กรัม ตามลำดับ เมื่อเทียบกับชุดควบคุมเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.02 42.98 14.34 และ 46.79 ตามลำดับ และแตกต่างกับชุดควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ 0.05) เมื่อทำการตรวจสอบลักษณะเส้นใยเห็ดที่อยู่กับรากฝอยของกล้าประดู่ป่าด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดที่ขนาด 100 ไมโครเมตร พบว่ารากฝอยกล้าที่ปลูกเชื้อมีเส้นใยเห็ดตับเต่าเกาะผิวรากโดยรอบ ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางส่งเสริมการปลูกเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซา (เห็ดตับเต่า) ในกล้าไม้เศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตติมา ด้วงแค, วินันท์ดา หิมะมาน และจันจิรา อายะวงศ์. (2548). เอคโตไมคอร์ไรซากับการควบคุมโรคเน่ากล้าไม้ยูคาลิปตัส. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 1 – 17.
ณัฐธิดา อินปิก และบุบผา คงสมัย. (2564). การวิเคราะห์ปริมาณคลอโรฟิลล์และแคโรทีนอยด์ที่สกัดตัวทำละลายหลายชนิดเข้าด้วยเทคนิคสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ในใบของบุกเนื้อทราย. วิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ 4(3): 81 - 83.
ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ. (2542). เห็ดกินได้ เห็ดพื้นบ้าน ในประเทศไทย. ใน: การสัมมนาวิชาการ เรื่อง ผักพื้นบ้านและอาหารพื้นเมือง. กรมการแพทย์ สถาบันการแพทย์แผนไทย, นนทบุรี. 130 - 132.
ทนุวงศ์ แสงเทียน และอุทัยวรรณ แสงวณิช. (2537). การเจริญเติบโตของกล้าไม้ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.) ที่ได้รับการปลูกเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซา. วารสารวนศาสตร์ 13(1): 22 - 28.
เทียมใจ คมกฤส. (2542). กายวิภาคของพฤกษ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 20 – 50.
ธนภักษ์ อินยอด, ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ, ขนิษฐา ชวนะนรเศรษฐ์, ธนภัทร เติมอารมณ์, ชาตรี กอนี, สุริมา ญาติโสม, สุจิตรา บัวลอย และปิยะดา เอี่ยมประสงค์. (2564). การศึกษาอายุของต้นหว้าที่เหมาะสมในการเจริญของเชื้อเห็ดตับเต่าภายใต้สภาวะเรือนปลูกพืช. วารสารเกษตรนเรศวร 18(1): 1 – 13.
ธนิตา อาสว่าง, อุไรวรรณ วิจารณกุล, รุ้งเพชร แข็งแรง, ณัฎฐิกา สุวรรณาศรัย และเชิดชัย โพธิ์ศรี (2558). เอคโตไมคอร์ไรซาของเห็ดเผาะสิรินธรในกล้าไม้ยางนา. ใน: การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการเครือข่ายงานวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ประเทศไทย: องค์ความรู้ด้านนิเวศวิทยาเพื่อการจัดการที่ยั่งยืน. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก. 88 – 93.
ประภาพร ตั้งกิจโชติ, มัชฌิมา แทนสา และกวิศร์ วานิชกุล. (2555). ผลของเชื้อเห็ดตับเต่าต่อการออกรากของกิ่งตอนชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ้ง. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 272 - 279.
ปานทิพย์ ขันวิชัย และประภาพร ตั้งกิจโชติ. (2555). ผลของเชื้อเห็ดตับเต่า (Boletus colossus Heim.) ไอโซเลทต่างๆ ต่อการเติบโตทางกิ่งใบ และมวลชีวภาพของต้นกล้าฝรั่ง Okinawa. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 232 – 239.
มนต์นรินทร์ เรืองจิตต์, สุธีระ เหิมฮึก, จุฑามาศ อาจนาเสียว และนครินทร์ สุวรรณราช. (2565). ประสิทธิภาพของเชื้อเห็ดป่าเศรษฐกิจต่อการเจริญเติบโตของกล้าไม้ยางนา. วารสารวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้เมืองไทย 6(2): 59 - 78.
รวีวรรณ เดื่อมขันมณี. (2556). พัฒนาการวิจัยเห็ดตับเต่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างยั่งยืน. รายงานความก้าวหน้าแผนงานวิจัย คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. พระนครศรีอยุธยา.
วชิรญา เหลียวตระกูล, วิจิตรา เหลียวตระกูล และวรรภา วงศ์แสงธรรม. (2565). นวัตกรรมด้านอาหารจากฐานทรัพยากรท้องถิ่นในชุมชนสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาสู่เชิงพาณิชย์. Science, Technology, and Social Sciences Procedia 2022(4): 1 – 10.
สมบูรณ์ บุญยืน. (2532). ผลของเชื้อเอคโตไมคอรไรซา ไพโซไลธัส ทิงธอเรียส ต่อการเจริญเติบโตและการดูดซับธาตุอาหารของกล้าไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส และสนคาริเบีย ที่ปลูกบนมูลดินเหมืองแร่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโทสาขาวนวัฒนวิทยา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ
สำนักงานนโยบายและแผนกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2565). สร้างคาร์บอนเครดิต-สร้างรายได้. แหล่งข้อมูล: https://www.onep.go.th. ค้นหาเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2565.
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากชีวภาพ (องค์การมหาชน). (2564). คู่มืออบรมเชิงปฏิบัติการเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซาและการปลูกพืชเศรษฐกิจร่วมกับการเพาะเห็ดไมคอร์ไรซา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากชีวภาพ (องค์การมหาชน). 5 – 29.
สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้. (2556). ประดู่ป่า. แหล่งข้อมูล: https://forestinfo.forest.go.th/pfd/Files/FileEBook/EB3.pdf. ค้นหาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564
สาวิตรี วีระเสถียร และประภาพร ตั้งกิจโชติ. (2548). ผลของเชื้อเห็ดตับเต่าต่อการเจริญเติบโตของกล้าไม้ยูคาลิปตัส. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 36(Suppl.5-6): 268 – 271.
สุจิตรา โกศล, สุนารี วังลึก, ธนภักษ์ อินยอด, ธนภัทร เติมอารมณ์, วรรณา มังกิตะ และธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ. (2562). ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์และนิเวศวิทยาของเห็ดป่ากินได้ในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านบุญแจ่ม จังหวัดแพร่. วารสารวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้เมืองไทย 3(1): 38 – 46.
สุริวรรณ มูลจันทร์, นิสา เหล็กสูงเนิน, สุวิมล อุทัยรัศมี และบุญธิดา ม่วงศรีเมืองดี. (2560). ผลของความเข้มแสงต่อการเติบโตและตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสงของกล้าไม้ป่ายืนต้น. วารสารวนศาสตร์ 36(2): 12 – 23.
อธิษฐาน ชมเพ็ญ และอมรศรี ขุนอินทร์. (2564). ประสิทธิภาพของเชื้อเห็ดตับเต่า (Boletus sp.) ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita). วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 21(2): 13 – 24.
อนงค์ จันทร์ศรีกุล, พูนพิไล สุวรรณฤทธิ์ และอุทัยวรรณ แสงวณิช. (2551). ความหลากหลายของเห็ดและราขนาดใหญ่ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 108 – 225.
อนงค์ จันทร์ศรีกุล และอัจฉรา พยัพพานนท์. (2530). ตับเต่า: เห็ดที่ควรพัฒนา. วารสารกสิกร 60(5): 441 - 445.
Allen, M.F. (1991). The ecology of mycorrhizae. In Journal of Tropical Ecology, A. C. Newton, Cambridge: Cambridge University Press. pp. 194.
Arnon, D.I. (1949). Copper enzymes in isolated chloroplasts. Polyphenol oxidase in Beta vulgaris. Plant Physiology 24(1): 1 - 15.
Ariff, E.A.R.E., Abdullah, S. and Suratman, M.N. (2012). The Relationships between Height and Stomatal Conductance, Chlorophyll Content, Diameter of Rubber Tree (Hevea brasiliensis) Saplings. In: The 12th Symposium of the Malaysian Society of Applied Biology. Engineering and Industrial Applications (ISBEIA), Kuala Terengganu. 1 - 4.
Conjeaud, C., Scheromm, P. and Mousain, D. (1996). Effect of phosphorus and ectomycorrhiza on maritime pine seedling (Pinus pinuaster). New Phytologist 133(2): 345 – 351.
Elliott, S., Kerby, J., Blakesley, D., Hardwick, K., Woods, K. and Anusarn-sunthorn, V. (2000). Forest Restoration for wildlife conservation. Chiang Mai: International Tropical Timber Organization and the Forest Restoration Research Unit, Chiang Mai University. 13 – 17.
Gardner, A., Ellsworth, D.S., Pritchard, J. and MacKenzie, A.R. (2022). Are chlorophyll concentrations and nitrogen across the vertical canopy profile affected by elevated CO2 in mature Quercus trees. Springer (36): 170 – 180.
Jackson, R.M., and Manson, P.A. (1984). Mycorrhiza. London: Edward Arnold, Ltd. 1 – 60.
Massicotte H.B., Melville, L.H. and Peterson, R.L. (2005). Structural features of mycorrhizal associations in two members of the Monotropoideae, Monotropa uniflora and Pterospora andromedea. Original Paper, Mycorrhiza 15: 101 – 110.
Panawala, L. (2017). Difference Between Chlorophyll A and B Difference Between Chlorophyll A and B Main Difference – Chlorophyll A vs Chlorophyll B. Souece: https://www.researchgate.net/publication/ 316584030. Retrieved from 23 January 2023.
Panngom, K., Lee, S.H., Park, D.H., Sim, G.B., Kim, Y.H., Han, H.S., Park, G. and Choi, E.H. (2014). Non-Thermal Plasma Treatment Diminishes Fungal Viability and Up-Regulates Resistance Genes in a Plant Host. PLoS One 9(6): 1 - 12.
Siebeneichler, S.C., Barbosa, J.S., Cruz, A.M.M., Ramos, M.A.D., Fernandes, H.E. and Nascimento, V.L. (2019). Comparison between extraction methods of photosynthetic pigments in Acacia mangium. Communications in Plant Sciences 1(9): 1 – 5.