การผลิตเยื่อกระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าด้วยวิธีทางชีวภาพโดยใช้ Trichoderma viride

Main Article Content

สุจยา ฤทธิศร

บทคัดย่อ

จากการศึกษาการใช้ราย่อยลิกนินในการผลิตเยื่อกระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าโดยวิธีทางชีวภาพ พบว่า ปริมาณเชื้อรา T. viride ที่เพิ่มมากขึ้นไม่มีผลต่อค่า Kappa number และการย่อยลิกนิน แต่ขึ้นอยู่กับระยะเวลา ในการเพาะเลี้ยง เมื่อนําเยื่อจากกาบกล้วยน้ำว้าที่ผลิตด้วย T. viride ฟอกด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ร้อยละ 0 8 10 12 14 และ 16 ค่า Kappa number ของเยื่อจากกาบกล้วยน้ำว้าที่ผลิตด้วย T. viride มีค่าน้อยกว่าเยื่อจากกาบกล้วยน้ำว้าที่ผลิตด้วยวิธีทางเคมี จากการนําเยื่อจากกาบกล้วยน้ำว้าที่ผลิตด้วย T. viride และที่ผลิตด้วยวิธีทางเคมีมาผลิตเป็นกระดาษและนําไปศึกษาค่าความสว่างพบว่ากระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าที่ผลิตด้วย T. viride ฟอกด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จะใช้ปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในการฟอกน้อยกว่ากระดาษที่ผลิต ด้วยวิธีทางเคมีแต่ได้ความขาวสว่างมากกว่าในทุกระดับความเข้มข้นของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ จากการคัดเลือกกระดาษที่ผลิตด้วย T. viride ฟอกด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ร้อยละ 12 เปรียบเทียบกับกระดาษที่ผลิตด้วยวิธี ทางเคมีฟอกด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ร้อยละ 14 พบว่าคุณสมบัติด้านความด้านทานแรงดันทะลุของกระดาษที่ผลิตด้วย T. viride มีค่าน้อยกว่าที่ผลิตด้วยวิธีทางเคมี โดยมีค่าเท่ากับ 3.3 และ 3.9 kg/cm3 ตามลําดับ แต่ความต้านทานแรงฉีกขาดกระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าที่ผลิตด้วย T. viride มีค่ามากกว่ากระดาษที่ผลิตด้วยวิธีทางเคมี โดยมีค่าเท่ากับ 24.33 mN.m2/g และ 19.23 mN.m2/g ตามลําดับ 

Article Details

How to Cite
ฤทธิศร ส. . (2012). การผลิตเยื่อกระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าด้วยวิธีทางชีวภาพโดยใช้ Trichoderma viride. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 40(3), 889–912. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/253290
บท
บทความวิจัย