แสงกับการตอบสนองทางชีวภาพของสัตว์ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Main Article Content

สิทธิศักดิ์ ปิ่นมงคลกุล

บทคัดย่อ

ช่วงแสงมีผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีรวิทยาและพฤติกรรมของสัตว์ในสภาพภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน การศึกษาการใช้ช่วงความยาวของวันโดยสัตว์ในระดับสรีรวิทยาและยีนเริ่มจากการทดลองเปรียบเทียบแสดงให้เห็นถึงบทบาทที่สําคัญของแสงในการกําหนดความเหมาะสมของสัตว์ตามสภาพแวดล้อมในแต่ละฤดูกาล ช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมนั้นแสงจะเริ่มส่งผลต่อลําดับทางสรีรวิทยาผ่านการนําเข้าทําให้เกิดจากการแปลผลจากการใช้ช่วงความยาวของวันและส่งผลต่อฮอร์โมนเฉพาะที่จะกําหนดว่าสัตว์ต้องเตรียมตัว พัฒนา เจริญพันธุ์ จําศีล เข้าสู่ระยะพักตัวหรือย้ายถิ่น กลไกพื้นฐานในการรักษาช่วงระยะเวลาตามฤดูกาลและการปรับตัวในช่วงทีมีการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้ถูกนํามาศึกษาในระดับสรีรวิทยาและยีน บทความนี้แสดงให้เห็น ว่าการปรับตัวของสัตว์ต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับการพึ่งพาตัวชี้นําในระหว่างการปรับตัวเพื่อการอยู่รอดของสัตว์ในสภาพภูมิอากาศวิกฤติ

Article Details

How to Cite
ปิ่นมงคลกุล ส. . (2012). แสงกับการตอบสนองทางชีวภาพของสัตว์ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 40(2), 408–422. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/253110
บท
บทความวิชาการ