การระบายอากาศตามธรรมชาติของบ้านด้วยปล่องหลังคาคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำระบายอากาศด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ของบ้าน จําลองภายใต้สภาวะอากาศร้อนชื้นของกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ปรีดา จันทวงษ์
บวร อิศรางกูร ณ อยุธยา
โยธิน อึ่งกูล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ได้ศึกษาเปรียบเทียบทดสอบระหว่างปล่องหลังคาคอนกรีตมวลเบาอบไอนํ้าระบายอากาศแบบธรรมชาติด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (RCSC) กับหลังคาทั่วไป (SRC) การออกแบบปล่องหลังคา RCSC หลังคาชั้นนอกเป็นกระเบื้อง CPAC Monia สีแดงและกระเบื้องใสมีความหนาประมาณ 0.015 m มีช่องว่างประมาณ 0.01 m และหลังคาชั้นในเป็นแผ่นคอนกรีตมวลเบาแบบอบไอนํ้า มีความหนาประมาณ 0.07 m ทาสีดำด้านบนจะช่วยให้มีการระบายอากาศแบบธรรมชาติ ปล่องหลังคา RCSC มีขนาดพื้นที่ 0.70 m2 และช่องเปิดด้านล่างอยู่ภายในบ้านมีขนาด 0.10 x 0.4 m2 และช่องเปิดด้านบนอยู่ภายนอกมีขนาด 0.15 x 0.60 m2  สำหรับปล่องหลังคาคอนกรีตระบาย RCSC จะทำการติดตั้งอยู่บนหลังคาทางด้านทิศใต้ของบ้านจำลองทั้งสองหลังที่มีขนาดเท่ากัน โดยบ้านจำลองมีขนาดปริมาตรเท่ากับ 4.05 m3 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะของบ้านระหว่างบ้านที่ติดตั้งปล่องหลังคา RCSC กับบ้านที่ติดตั้ง SRC ที่มีผลต่อการลดการสะสมความร้อนภายในห้องใต้หลังคาของบ้านจำลอง ผลการศึกษาทดลอง พบว่า บ้านที่ติดตั้งปล่องหลังคา RCSC มีอุณหภูมิภายในห้องตํ่ากว่า อุณหภูมิของบ้านที่ติดตั้งหลังคาทั่วไป ทำให้อัตราการถ่ายเทความร้อนผ่านหลังคาเข้าสู่บ้านทางด้านทิศใต้จะลดลง และช่วยระบายอากาศภายในห้อง ทำให้มีการไหลเวียนของอากาศภายในบ้านดีขึ้นปล่องหลังคา RCSC จึงเป็นการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการอนุรักษ์พลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อม

Article Details

How to Cite
จันทวงษ์ ป. ., อิศรางกูร ณ อยุธยา บ. ., & อึ่งกูล โ. . (2012). การระบายอากาศตามธรรมชาติของบ้านด้วยปล่องหลังคาคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำระบายอากาศด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ของบ้าน จําลองภายใต้สภาวะอากาศร้อนชื้นของกรุงเทพมหานคร . วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 40(1), 83–94. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/253062
บท
บทความวิจัย