การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการค้นคืนสารสนเทศปริญญานิพนธ์ สำหรับปริญญาตรี สาขาวิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Main Article Content

ภานรินทร์ อิ่นแก้ว
พุธิตา เจือจันทร์
วิชุดา ไชยศิวามงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันในการค้นคืนสารสนเทศปริญญานิพนธ์สำหรับระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นงานวิจัยประเภทการวิจัยและพัฒนาด้วยการใช้แนวคิดของวงจรชีวิตการพัฒนาระบบ โดยแบ่งผู้ใช้งานระบบออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) นักศึกษา (2) คณาจารย์ (3) ผู้ดูแลระบบของสาขาวิชาสถิติผลการวิเคราะห์ระบบพบว่าปัจจุบันมีการจัดเก็บข้อมูลปริญญานิพนธ์ในหลายรูปแบบ เช่น AppSheet  Excel และ Word อีกทั้งการกำหนดรหัสหมวดหมู่ให้กับเล่มปริญญานิพนธ์ยังไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานทำให้ไม่สะดวกต่อการสืบค้นและตรวจสอบ ดังนั้นจึงพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อค้นคืนสารสนเทศที่เข้าถึงได้ง่ายและสามารถใช้งานได้ตลอดเวลาโดยผ่านอินเทอร์เน็ต สำหรับระบบที่พัฒนาขึ้นรองรับ 4 กระบวนการที่สำคัญ ได้แก่ การเข้าสู่ระบบ การเพิ่มข้อมูลปริญญานิพนธ์ การสืบค้น และการจัดการระบบฐานข้อมูล 7 ตาราง โดยส่วนต่อประสานกับผู้ใช้จะสอดคล้องกับ 4 กระบวนการดังกล่าว ทั้งนี้กลุ่มคณาจารย์และผู้ดูแลระบบสามารถเข้าดูรายงานค่าสถิติต่างๆ ของปริญญานิพนธ์ได้ ได้แก่ จำนวนเล่มปริญญานิพนธ์ จำแนกตามอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก และหมวดหมู่เนื้อหาทางสถิติ 11 หมวด ซึ่งข้อมูลจากระบบดังกล่าวจะช่วยนักศึกษานำไปสู่ความคิดต่อยอดในการทำโครงงานปริญญานิพนธ์ของนักศึกษาได้ และสาขาวิชาสามารถใช้สารสนเทศที่ได้ช่วยในการวางแผน และพัฒนาหลักสูตรได้ สำหรับผู้ดูแลระบบสามารถเข้าจัดการข้อมูลได้ง่ายโดยผ่านเว็บ เมื่อผู้ใช้ระบบได้ทดลองใช้ระบบและประเมินความพึงพอใจ พบว่ากลุ่มนักศึกษาและคณาจารย์สาขาวิชาสถิติ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.04; S.D. = 0.74 และ gif.latex?\bar{x} = 3.81; S.D. = 0.74 ตามลำดับ) ส่วนกลุ่มผู้ดูแลระบบมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.30; S.D. = 0.69)

Article Details

How to Cite
อิ่นแก้ว ภ. ., เจือจันทร์ พ. ., & ไชยศิวามงคล ว. . (2022). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการค้นคืนสารสนเทศปริญญานิพนธ์ สำหรับปริญญาตรี สาขาวิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 50(2), 114–125. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/250304
บท
บทความวิจัย

References

เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์. (2553). ข้อคำนึงในการสร้างเครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า (Rating Scale) เพื่องาน วิจัย. แหล่งข้อมูล: http://ms.src.ku.ac.th/schedule/Files/2553/Oct/1217086.doc. ค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564.

ภากร พุดสวัสดิ์, วิลาศลักษณ์ เอาะน้อย, วิชุดา ไชยศิวามงคล, ยุภาพร ตงประสิทธิ์, ธรรณญพร น้อยพลับ, สุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์, วรรณพร จันโทภาส และธีรนุช หาญโสภา. (2563). ระบบต้นแบบเพื่อตรวจสอบการสำเร็จการศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชัน. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 48(4): 563-576.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2550). คู่มือการทำวิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระ. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

สุรเชษฐ์ มีฤทธิ์ และฤทธิชัย อ่อนมิ่ง. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บและการสืบค้นฐานข้อมูลวีดิทัศน์ ของสำนักสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. The Journal of Social Communication Innovation 7(2): 170-179.

อุไร ทองหัวไผ่. (2551). ระบบค้นคืนสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2558). ระบบฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

Huber, S., Wiemer, H., Schneider, D., and Ihlenfeldt, S. (2019). DMME: Data mining methodology for engineering applications–a holistic extension to the CRISP-DM model. Procedia Cirp 79: 403-408.

Kendall, K.E., and Kendall, J.E. (2014). Systems Analysis and Design (9th ed.). Upper Saddle River, New Jersey, USA: Pearson Education, Inc.

Shelly, G.B., and Rosenblatt, H.J. (2012). Systems Analysis and Design (9th ed.). Boston, MA, USA: Course Technology, Cengage Learning.