การพัฒนาระบบถาม-ตอบออนไลน์สำหรับเว็บบริการงานทะเบียนนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยด้วยเทคโนโลยีออนโทโลยี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การให้บริการระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษาเกี่ยวกับงานทะเบียนของมหาวิทยาลัย ยังคงเป็นปัญหาในเรื่องการอำนวยความสะดวกในการถาม-ตอบปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับงานทะเบียน เช่น การลงทะเบียน การรักษาสภาพ การย้ายวิทยาเขต การย้ายคณะ การเพิ่ม ถอนรายวิชา การสำเร็จการศึกษา หรือ ปัญหาอื่นๆ ที่นักศึกษาประสบอยู่ เนื่องจากมหาวิทยาลัยยังไม่มีระบบถาม-ตอบออนไลน์แบบอัตโนมัติ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างต้นแบบระบบถามตอบออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีออนโทโลยี โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 1) การรวบรวมข้อมูลจากคู่มือนักศึกษาโดยการวิเคราะห์ข้อความ และแบ่งหมวดหมู่ต่างๆ เพื่อสร้างเป็นตัวแทนคำตอบ โดยการตัดคำ สกัดคำหยุด หาตัวแทนของคำ 2) กระบวนการพัฒนาในการสร้างออนโทโลยี เพื่อระบุขอบเขตขององค์ความรู้ที่ครอบคลุมในเรื่องต่างๆ แต่ละหมวด 3) รับค่าคำถาม เป็นการระบุคำถามจากผู้ใช้ โดยนำคำถามไปประมวลผล และแสดงคำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุดออกมา 4) ประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบด้วยค่า Precision Recall และ F-measure แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย จะใช้กรณีศึกษา: งานทะเบียนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ผลการทดลองเบื้องต้นแสดงให้เห็นการประเมินประสิทธิภาพระบบถาม-ตอบออนไลน์ ด้วยเทคโนโลยีออนโทโลยี สำหรับการถาม-ตอบเกี่ยวกับงานทะเบียน มีค่าความแม่นยำ (Precision) 90.91% ค่าความระลึก (Recall) 83.33% และค่าเฉลี่ย (F-measure) 86.96%
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จุฑาภรณ์ เลิศไกร และสลิล บุญพราหมณ์. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีออนโทโลยีเพื่อแนะนำรายการอาหาร. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ 7(1): 22-32.
ปองพล นิลพฤกษ์ และกีรติบุตร กาญจนเสถียร. (2560). ระบบ แนะนำกิจกรรม สำหรับการลด น้ำหนัก โดยการประยุกต์ใช้ฐานความรู้แบบออนโทโลยี. วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ 11(1): 8-16.
พัชราภรณ์ ชัยพัฒนเมธี. (2564). การพัฒนาออนโทโลยีสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 31(1): 118-129.
สุวิสา คงวัดใหม่, สุดฝัน สุวรรณมณี และณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร. (2560). การพัฒนาระบบถามตอบเพื่อการดูแลตนเองของผู้เป็นเบาหวาน. ใน: การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา. 349-357.
Berners, L.T., Hendler, J. and Lassila, O. (2001). The semantic web. Scientific American 284(5): 34-43.
Buranarach, M., Thein, M. and Supnithi, T. (2012). A community-driven approach to development of an ontology-based application management framework. In: Joint International Semantic Technology Conference. 306-312.
Fensel, D. (2004). Ontologies: A Silver Bullet for Knowledge Management and Electronic Commerce. IEEE Inteligent System 6(1): 8-14.
Frankes, W.B. and Baeza-Yates, R. (1992). Information retrieval: Data structure and algorithms. United States: Prentice Hall.
Kozaki, K., Kitamura, Y. and Mizoguchi, R. (2005). Developing Ontology-based Applications using Hozo. In: IASTED International Conference on Computational Intelligence, Calgary, Alberta, Canada. 273-277.
Kozaki, K., Sunagawa, E., Kitamura, Y., and Mizogu, R. (2007). Distributed Construction of Ontologies Using Hozo. In: Proceedings of the Workshop on Social and Collaborative Construction of Structured Knowledge (CKC 2007) at the 16th International World Wide Web Conference (WWW2007) Banff, Canada.
Noy, N.F. and McGuinness, D. (2001) Ontology Development 101: A Guide to Creating Your First Ontology. Stanford Knowledge Systems Laboratory.
Radev, D.R., Qi, H., Zheng, Z., Blair-Goldensohn, S., Zhang, Z., Fan, W. and Prager, J. (2001). Mining the web for answers to natural language questions. In: Proceedings of the 2001 ACM CIKM International Conference on Information and Knowledge Manage-ment, Atlanta, Georgia, USA. 143-150.