การพัฒนาการเตรียมแอนติเจนสำหรับการตรวจไก่ที่มีแอนติบอดีต่อเชื้อ Salmonella Enteritidis ด้วยวิธี Rapid Slide Agglutination

Main Article Content

รุ่งโรจน์ แจ่มอ้น
ภัทรา มูลจิตร
ปัณณ์ พนมวัลย์
Sysavath Syhalath
ณภัทร ปัญญาวรรณ
พงศกร ศรีจันทรา
มณทิพย์ ยิ้มเจริญ
สมภพ เพริศพรายวงศ์
นวลอนงค์ สินวัต
อรวรรณ บุตรดี
นรินทร์ อุประกรินทร์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาการเตรียมแอนติเจนของเชื้อ Salmonella Enteritidis (SE) สำหรับการตรวจ rapid slide agglutination (RSA) และเปรียบเทียบการเตรียมแอนติเจนด้วยวิธี formalin inactivation และ วิธี alcohol inactivation ตัวอย่างซีรัมที่ใช้สำหรับการทดสอบแบ่งเป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่ม 1 ซีรัมจากไก่สุขภาพดีและปลอดการติดเชื้อซัลโมเนลลาจำนวน 60 ตัวอย่าง กลุ่ม 2 ซีรัมจากไก่ที่ได้รับ killed SE antigen จำนวน 20 ตัวอย่าง และกลุ่ม 3 ซีรัมจากไก่ที่ป้อนเชื้อ SE (106 CFU/ตัว) จำนวน 20 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า เมื่อทดสอบ RSA ด้วยแอนติเจนทั้ง 2 วิธีตัวอย่างซีรัมจากไก่กลุ่ม 1 ให้ผลลบทั้ง 60 ตัวอย่าง (100%) ตัวอย่างจากไก่กลุ่ม 2 ให้ผลบวก 20 ตัวอย่าง (100%) ต่อแอนติเจน SE formalin inactivated และให้ผลบวก 19 ตัวอย่าง (95%) ต่อแอนติเจน SE alcohol inactivated และตัวอย่างซีรัมจากไก่กลุ่ม 3 ให้ผลบวก 19 ตัวอย่าง (95%) ต่อแอนติเจน SE formalin inactivated และให้ผลบวก 16 ตัวอย่าง (80%) ต่อแอนติเจน SE alcohol inactivated เมื่อนำแอนติเจนที่เตรียมทั้ง 2 วิธี มาทดสอบ cross reactivity ต่อเชื้อ S. Typhimurium (ST) โดยใช้ตัวอย่างซีรัมของไก่ที่ให้ killed ST antigen หรือได้รับเชื้อ ST (106 CFU/ตัว) พบว่าผลการตรวจ RSA กับแอนติเจน SE formalin inactivated ให้ผลบวกต่ำกว่า แอนติเจน SE alcohol inactivated อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเมื่อนำ แอนติเจนที่เตรียมทั้ง 2 วิธีไปทดสอบ RSA กับซีรัมที่มาจากฝูงไก่ที่เลี้ยงเพื่อการค้าจำนวน 3 ฝูงพบว่า ผลการตรวจ RSA กับแอนติเจนที่เตรียมทั้ง 2 วิธีนี้สามารถตรวจแยกฝูงไก่ที่สุขภาพดีและฝูงไก่ที่ติดเชื้อ SE ในฝูงได้จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าผลการทดสอบ RSA กับแอนติเจน formalin inactivated ให้ผลการทดสอบที่ดีกว่าแอนติเจน alcohol inactivated และแอนติเจนที่เตรียมมาจากทั้ง 2 วิธีนี้สามารถนำไปใช้ตรวจซีรัมจากฝูงไก่ที่สงสัยมีการติดเชื้อ SE ในทางปฏิบัติการได้ 

Article Details

How to Cite
แจ่มอ้น ร. ., มูลจิตร ภ. ., พนมวัลย์ ป. ., Syhalath , S. ., ปัญญาวรรณ ณ. ., ศรีจันทรา พ. ., ยิ้มเจริญ ม. ., เพริศพรายวงศ์ ส. ., สินวัต น. ., บุตรดี อ. ., & อุประกรินทร์ น. . (2021). การพัฒนาการเตรียมแอนติเจนสำหรับการตรวจไก่ที่มีแอนติบอดีต่อเชื้อ Salmonella Enteritidis ด้วยวิธี Rapid Slide Agglutination. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 49(1), 19–29. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/250223
บท
บทความวิจัย
Author Biography

Sysavath Syhalath , ภาควิชาเวชศาสตร์และทรัพยากรการผลิตสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน นครปฐม 73140

Research and Post-Graduate Studies Office, Savannakhet University, Savannakhet Province, Lao PDR

References

ณัฐา จริยภมรกุร วิชัย สุทธิธรรม และดรุณี ศรีชนะ. (2558). การสํารวจแบคทีเรียก่อโรคซึ่งปนเปื้อนในไข่ที่วางจําหน่ายในเขตอําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. Thai Journal of Science and Technology 4(1): 104-114.

ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการควบคุมโรคแซลโมเนลลาสําหรับสัตว์ปีก. (2553, 8 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนพิเศษ 140 ง. หน้า 2.

วรรณา พรรณรักษา สดใส เวชชาชีวะ และดิลก เย็นบุตร. (2521). การศึกษาเบื้องต้นในการหา Salmonella Typhi O antibody โดยวิธี slide agglutination test. จุฬาลงกรณเวชสาร 22 (4): 261-264.

สุมาลี เลี่ยมทอง. (2560). ความชุกของเชื้อ Salmonella ที่แยกจากเนื้อสัตว์ค้าปลีกในอําเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชชา 36(1): 72-85

อดิศร ดวงอ่อนนาม คมกริช พิมพ์ภักดี และปิยวัฒน์ สายพันธุ์. (2554). ความชุกและซีโรวาร์ของซัลโมเนลลาในเนื้อโคที่จําหน่ายข้างถนนจากขั้นตอนการตัดแต่งซากในโรงฆ่าสัตว์การขนส่งซากและร้านจําหน่ายในจังหวัดร้อยเอ็ด. ใน: รายงานการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยขอนแก่นขอนแก่น. 1105-1115.

Barrow, P. A., Berchieri, A., Jr. and Al-Haddad, O. (1992). Serological response of chickens to infection with Salmonella Gallinarum-S. Pullorum detected by enzyme-linked immunosorbent assay. Avian Diseases 36(2): 227-236.

Barrow, P. A., Bumstead, N., Marston, K., Lovell, M. A. and Wigley, P. (2004). Faecal shedding and intestinal colonization of Salmonella Enterica in in-bred chickens: the effect of host-genetic background. Epidemiology and Infection 132(1): 117-126.

Barrow, P. A., Jones, M. A., Smith, A. L. and Wigley, P. (2012). The long view: Salmonella-the last forty years. Avian Pathology 41(5): 413-420.

Gast, R. K. (1997). Detecting infections of chickens with recent Salmonella Pullorum isolates using standard sero-logical methods. Poultry Science 76(1): 17-23.

Gast, R. K., Guard-Petter, J. and Holt, P. S. (2002). Characteristics of Salmonella Enteritidis contamination in eggs after oral, aerosol, and intravenous inoculation of laying hens. Avian Diseases 46(3): 629-635.

Van Immerseel, F., De Buck, J., Pasmans, F., Bohez, L., Boyen, F., Haesebrouck, F., and Ducatelle, R. (2004). Intermittent long-term shedding and induction of carrier birds after infection of chickens early posthatch with a low or high dose of Salmonella Enteritidis. Poultry Science 83(11): 1911-1916.

Jones, F. S. (1913). The value of the macroscopic agglutination test in detecting fowls that are harboring Bact. Pullorum. Journal of Medical Research 27(4): 481-495.

Kim, C. J., Nagaraja, K. V. and Pomeroy, B. S. (1991). Enzyme-linked immunosorbent assay for the detection of SalmonellaEnteritidis infection in chickens. American Journal of Veterinary Research 52(7): 1069-1074.

Kolmer, J. A., Spaulding, E. H. and Robinson, H. W. (1951). Approved laboratory technic, 5th ed New York: Appleton-Century-Crofts. pp. 751-756.

OIE. (2019). Chapter 3.9.8. Salmonellosis. Manual of diagnostic tests and vaccines for terrestrial animals (2019). https://www.oie.int/standard-setting/terrestrial-manual /access-online/

Runnels, R. A., Coon, C. J., Farley, H. and Thorp, F. (1927). An application of the rapid method agglutination test to the diagnosis of bacillary white diarrhea infection. Journal of the American Veterinary Medical Association 70: 660-662.

Schaffer, J. M., MacDonald, A. D., Hall, W. J. and Bunyea, H. (1931). A stained antigen for the rapid whole blood test for pullorum disease. Journal of the American Veterinary Medical Association 79: 236-240.

Sumithra, T. G., Chaturvedi, V. K., Rai, A. K., Sunita, S. C. C., Susan, C. and Siju, S. J. (2013). Development of slide agglutination test for the differentiation of SalmonellaTyphimurium infection from poultry specific salmonella serovars. Journal of Veterinary Public Health 11(2): 83-90.

Shivaprasad, H. L., Timoney, J. F., Morales, S., Lucio, B. and Baker, R. C. (1990). Pathogenesis of Salmonella Enteritidis infection in laying chickens. I. Studies on egg transmission, clinical signs, fecal shedding, and serologic responses. Avian Diseases34(3): 548-557.

Tanaka, S. (1975). Production of pullorum antigen by continuous submerged culture. Japan Agricultural Research Quarterly 9(1): 60-65.

Timoney, J. F., Sikora, N., Shivaprasad, H. L. and Opitz, M. (1990). Detection of antibody to Salmonella Enteritidis by a gm flagellin-based ELISA. Veterinary Record 127(7): 168-169.

Waltman, W. D. and Horne, A. M. (1993). Isolation of Salmonella from chickens reacting in the pullorum-typhoid agglutination test. Avian Diseases37(3): 805-810.

Yang, B., Niu, Q., Yang, Y., Dai, P., Yuan, T., Xu, S., Pan, X., Yang, Y. and Zhu, G. (2019). Self-made Salmonella Pullorum agglutination antigen development and its potential practical application. Poultry Science 98(12): 6326-6332.