รายงานพันธุศาสตร์ระดับเซลล์ครั้งแรกของงูสายม่านพระอินทร์ (Dendrelaphis pictus, Colubrinae) ด้วยการย้อมสีโครโมโซมแบบจิมซ่า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาพันธุศาสตร์ระดับเซลล์ครั้งแรกของงูสายม่านพระอินทร์ (Dendrelaphis pictus) ใช้ตัวอย่างงูเพศผู้ 10 ตัว และเพศเมีย 10 ตัว จากจังหวัดมหาสารคาม ฉีดโคลชิซิน 0.03% เข้าไปในตัวอย่างสัตว์เป็นเวลา 18 ชั่วโมง เตรียมโครโมโซมจากม้ามและลำไส้ด้วยวิธีบดขยี้เซลล์และเทคนิคไฮโพโทนิค-ฟิกเซชั่น-แอร์ดรายอิ้ง ย้อมสีโครโมโซมแบบธรรมดาด้วยสีจิมซ่า 20% ผลการศึกษาพบว่างูสายม่านพระอินทร์มีโครโมโซมดิพลอยด์เท่ากับ 36 แท่ง ประกอบด้วยโครโมโซมชุดใหญ่ 16 แท่ง และโครโมโซมชุดเล็ก 20 แท่ง โครโมโซมชุดใหญ่ประกอบด้วยโครโมโซมชนิดเมทาเซนทริก 2 แท่ง ซับเมทาเซนทริก 10 แท่ง เทโลเซนทริก 2 แท่ง โครโมโซมเพศเป็นระบบ ZZ/ZW โครโมโซมแซดเป็นชนิดซับเมทาเซนทริก และโครโมโซมดับเบิลยูเป็นชนิดเทโลเซนทริก พบรอยคอดที่สองบนแขนข้างยาวของโครโมโซมชนิดซับเมทาเซนทริกคู่ที่ 2 โครโมโซมชุดเล็กทั้ง 10 คู่มีขนาดเล็กเป็นจุด ไม่สามารถจำแนกชนิดได้งูสายม่านพระอินทร์มีสูตรแคริโอไทป์ ดังนี้
2n = 36 = Lm2 + Lsm4 + Msm2 + Ssm4 + St2 + ZZ/ZW + 20 โครโมโซมชุดเล็ก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.