การประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ของชาดอกไม้ชนิดผงปรุงสำเร็จจากกระเจียวแดง อัญชัน และงิ้วป่า
Main Article Content
บทคัดย่อ
ชาเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณทางยามากมายและสามารถต้านอนุมูลอิสระที่เกิดภายในร่างกายได้ การนำดอกไม้มาแปรรูปเป็นชาจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้บริโภค งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชาดอกไม้ชนิดผงปรุงสำเร็จจากกระเจียวแดง อัญชัน และงิ้วป่า จำนวน 9 ตำรับ รวมถึงศึกษาหาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในชาดอกไม้ชนิดผงปรุงสำเร็จด้วยวิธี DPPH (1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl) radical scavenging activity assay ผลการศึกษาพบว่า ชาดอกไม้แต่ละตำรับมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยตำรับที่ 3 (กระเจียวแดง ที่อัตราส่วน น้ำสมุนไพร ต่อ น้ำตาล เท่ากับ 2:1 โดยน้ำหนัก) มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงที่สุด เท่ากับ 457.35 ± 0.02 mg GAE/g และมีความสามารถในการทำลายอนุมูลอิสระดีที่สุด โดยมีค่า % DPPH radical scavenging activity เท่ากับ 96.69 ± 0.00 % และมีค่า IC50 เท่ากับ 0.06 ± 0.00 g/ml จากข้างต้นสรุปได้ว่า กระเจียวแดงมีประสิทธิภาพในการกำจัดอนุมูลอิสระได้ดีมีความเหมาะสมในการนำไปพัฒนาเป็นชาดอกไม้ชนิดผงปรุงสำเร็จเพื่อการดูแลสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดหัวใจ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.