การวิเคราะห์หาปริมาณแคปไซซินในพริกพื้นเมืองในจังหวัดนครราชสีมา โดยอาศัยการตรวจวัดทางสี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณแคปไซซินในตัวอย่างพริกแต่ละสายพันธ์ุที่ปลูกอยู่ในจังหวัดนครราชสีมาด้วยการตรวจวัดทางสี โดยอาศัยการเกิดปฏิกิริยาระหว่างแคปไซซินกับสารละลายกรดฟอสโฟโมลิบดิกภายใต้สภาวะที่เป็นเบส แคปไซซิน จะไปรีดิวซ์สารละลายกรดฟอสโฟโมลิบดิกให้เปลี่ยนไปเป็น โมลีบดีนัม บลู ได้ผลิตภัณฑ์เป็นสารละลายสีน้ำเงินตรวจวัดค่าการดูดกลืนแสงด้วยเทคนิคสเปกโตรโฟโตมิตรี ที่ความยาวคลื่น 650 นาโนเมตร ศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมของวิธีวิเคราะห์ ได้แก่ ความเข้มข้นของกรดฟอสโฟโมลิบดิก ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ และเวลาในการเกิดปฏิกิริยา ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม พบว่าวิธีวิเคราะห์ที่นําเสนอนี้มีความถูกต้อง และความเที่ยงสูง มีช่วงความเป็นเส้นตรงที่ความเข้มข้น 1 ถึง 40 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ให้ขีดจํากัดการตรวจพบ และ ขีดจํากัดการตรวจพบเชิงปริมาณ คือ 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลําดับ จากนั้นวิเคราะห์หาปริมาณแคปไซซินในตัวอย่างพริก พบว่าพริกสุกมีปริมาณแคปไซซินมากกว่าพริกผลดิบ ปริมาณแคปไซซินขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของพริก ซึ่งมีปริมาณแคปไซซินอยู่ในช่วง 22 ถึง 4517 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.