การบำบัดสารหนูชนิดอาร์เซไนต์ As(III) และอาร์เซเนต As(V) ในดินน้ำขังโดยใช้ธูปฤาษี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูดสะสมปริมาณสารหนูทั้งหมด (Total arsenic) ที่อยู่ในรูปของ As(III) และ As(V) ในดินน้ำขังโดยใช้ธูปฤาษี และเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดสะสมในอวัยวะส่วนต่างๆ ของธูปฤาษี ซึ่งเปรียบเทียบตามระยะการเพาะปลูกที่แตกต่างกันคือ 15, 30, 45, และ 60 วัน รูปแบบการทดลองแฟคทอเรีย 3 × 4 ในแบบแผน CRD จากการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Two way ANOVA) พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสะสมปริมาณสารหนูทั้งหมดของธูป ฤาษีทั้งต้นอย่างมีนัยสําคัญ (P < 0.01) ได้แก่ ระยะเวลาที่เพาะปลูก ชนิดของสารหนู และมีอิทธิพลร่วมระหว่าง 2 ปัจจัย และเมื่อเปรียบเทียบพหุคูณของค่าเฉลี่ยแต่ละปัจจัย (Multiple comparison) โดยวิธีดันเนตต์ (Dunnett’s T3) พบว่า As(III) > As(V) > ชุดควบคุม และ 45 > 60 > 30 > 15 วัน ตามลําดับ สําหรับการสะสมปริมาณสารหนูทั้งหมดในอวัยวะส่วนต่างๆ ของธูปฤาษีรูปแบบการทดลองแฟคทอเรีย 3 × 3 × 4 ในแบบแผน CRD จากการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Three way ANOVA) พบว่า ปัจจัยที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ (P < 0.01) ได้แก่ ระยะเวลาที่เพาะปลูก ชนิดของสารหนูและอวัยวะที่แตกต่างกันของธูปฤาษีและมีอิทธิพลร่วมระหว่าง 2 ปัจจัยได้แก่ ชนิดของสารหนู * ระยะเวลาที่เพาะปลูก, ชนิดของสารหนู* อวัยวะที่แตกต่างกันของธูปฤาษี, ระยะเวลาที่เพาะปลูก * อวัยวะที่แตกต่างกันของธูปฤาษีและมีอิทธิพลร่วมระหว่าง 3 ปัจจัยได้แก่ ชนิดของสารหนู * ระยะเวลาที่เพาะปลูก * อวัยวะที่แตกต่างกันของธูปฤาษี ผลการเปรียบเทียบพหุคูณของค่าเฉลี่ยแต่ละปัจจัย โดยวิธีดันเนตต์ (Dunnett’s T3) พบว่า As(III) > As(V) > ชุดควบคุม และ 45 > 60 > 30 > 15 อีกทั้งไหล > ราก > ใบ ตามลําดับ จากค่าปัจจัยการเคลื่อนย้ายสารหนูขึ้นสู่ส่วนเหนือดินพบว่า As(III) มีค่า 0.14 – 0.28 และ As(V) มีค่า 0.43 – 0.55 และค่าปัจจัยความเขมข้นทางชีวภาพสําหรับ As(III) มีค่า 0.93 – 1.15 แสดงว่าธูปฤาษีมีคุณสมบัติเป็นพืชไฮเปอร์แอคคูมิวเลชั่น ขณะที่ As(V) มีค่า 0.57 – 0.85
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.